เครื่องแบบนักเรียน

ว่าด้วยเรื่อง #เครื่องแบบนักเรียน ในมุมมองของ(อนาคต)นักการศึกษา (ในประเทศที่พัฒนาแล้ว)

by Paula Greiff

ต้องเริ่มด้วยเรื่องวิสัยทัศน์ของสังคมนั้นๆ ต่อเด็กและเยาวชนก่อนเลย ประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างประเทศที่เราอยู่เนี่ย เขามีวิวัฒนาการของวิสัยทัศน์ต่อเด็กและเยาวชนมาเป็นร้อยปีแล้ว เขาพัฒนาวิสัยทัศน์ของเค้าไปพร้อมๆ กับยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมนั้นแหละ

เดนมาร์กและเหล่าประเทศในนอร์ดิกสมัยก่อนเขาก็มีมุมมองต่อเด็กๆ เหมือนเราตอนนี้อ่ะ เขาเคยมองเด็กเป็นแค่เด็ก เป็นแค่กลุ่มคนช่วยตัวเองไม่ได้ ต้องให้ผู้ใหญ่คิดและตัดสินใจแทนทุกเรื่อง ค่าความเป็นคนเลยไม่เท่ากัน แต่พอหลังยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมแล้ว ทั้งพ่อทั้งแม่ต้องไปทำงาน เนอสเซอรี่และโรงเรียนอนุบาลได้ถือกำเนิดขึ้น สิ่งนี้มันทำให้บทบาทของเด็กและเยาวชนค่อยๆ เปลี่ยนไป

จากความคิดที่เด็กเป็นแค่สมาชิกของครอบครัวซึ่งมีหน้าที่แค่ฟังคำสั่งจากผู้ปกครองเท่านั้น ไม่สามารถมีส่วนร่วมในการตัดสินใจใดๆ ได้แม้กระทั่งการตัดสินใจในเรื่องเกี่ยวกับร่างกายตัวเอง พอสังคมเปลี่ยน ชุดความคิดของคนในสังคมก็ค่อยๆ เปลี่ยนไป เด็กคือคนที่มีค่าความเป็นคนเท่ากัน แม้ว่าเขาจะไม่แข็งแรงและมีข้อจำกัดทางกายภาพไม่เหมือนกับผู้ใหญ่ที่เจริญเต็มวัยแล้ว แต่เขาเหล่านี้ก็ถือเป็น “ผู้เล่นหลัก” ที่มีความสามารถและต้องมีส่วนร่วมในการตัดสินใจหลายๆ อย่าง

โดยเฉพาะสิ่งที่เกี่ยวข้องกับตัวเองทั้งในทางตรงและทางอ้อม และถ้าผู้ใหญ่ (ผู้ปกครอง, ครู, นักสังคมสงเคราะห์ ฯลฯ) จะต้องตัดสินใจอะไรเกี่ยวกับเด็ก ผู้ใหญ่เหล่านี้ก็ต้องพิจารณาสิ่งเหล่านี้จากมุมมองของเด็ก และมีการให้เด็กร่วมตัดสินใจด้วย (แม้แต่ในกรณีเด็กเล็กที่ยังสื่อสารด้วยภาษาพูดยังไม่ได้) และสิ่งเหล่านี้แน่นอนไม่ได้แค่พูดปากเปล่า มันมีบัญญัติใว้ในกฎหมาย และมีการปฏิบัติใช้อย่างเคร่งครัดมากๆ

วนมาเรื่องชุดนักเรียน ที่เดนมาร์กไม่มีค่ะ เพราะเขาดีเบต, เขาทำประชาพิจารณ์ และยิ่งไปกว่านั้น เขาถามคนที่ต้องใส่แล้วจึงได้ผลออกมาว่าไม่มีดีกว่า เพราะอีตัวเครื่องแบบที่หลายคนบอกว่าเท่าเทียมงั้นงี้

ถ้ามองจริงๆ แล้วอีตัวยูนิฟอร์มเนี้ยแหละคือเครื่องหมายของความโครตไม่เท่าเทียม เช่น เครื่องแบบโรงเรียนอินเตอร์ โรงเรียนเอกชน โรงเรียนรัฐธรรมดา โรงเรียนรัฐที่เด่นด้านวิชาการจนคนแย่งกันพาลูกหลานเข้า โรงเรียนวัด โรงเรียนสาธิต บลาๆ ทั้งนี้ไม่รวมความต่างทางด้านสังคมที่มีผลต่อการใส่ชุดนักเรียนของเด็กๆ เช่นชุดเก่าใส่มาสามปีแล้ว ชุดใหม่เปลี่ยนทุกปี ชุดใหญ่เพราะเผื่อโต และอื่นๆ อีกมากมาย

อีที่บอกว่าช่วยเรื่องเท่าเทียมเลยตกไป

แล้วชุดนักเรียนที่เดนมาร์ก เขาถือเป็นเครื่องหมายของการกักขังทางเสรีภาพ ก็อีห่าตัวฉัน ผมฉัน ฉันยังตัดสินใจเองไม่ได้ แล้วจะให้ไปตัดสินใจอะไรได้อะ เขาเลยได้ข้อสรุปว่าไม่มีอ่ะดีต่อเด็กที่สุด

ทั้งนี้ทั้งนั้นไทยแลนด์แดนกะลากับเสรีแลนด์แดนเดนมาร์กมีบริบททางสังคมต่างกัน ประเทศเขาประชาธิปไตยพัฒนามานมนานจนมันหยั่งรากลึกในสังคมแล้ว ส่วนกะลาแลนด์นั้นการจะมีนายก ฯ จากเสียงข้างมากแม่งดูเป็นเรื่องยากเหลือเกิน

ดังนั้นไม่แปลกที่กระแสสังคมจะออกมาวิจารณ์น้องหยกในทางไม่ดี เพราะคนส่วนใหญ่ในสังคมไทยมันก็พวกอนุรักษ์นิยมที่เอาความคิดของตัวเองเป็นที่ตั้งและมองเรื่องราวผ่านมุมมองเดียว (หรืออาจจะสอง) เช่น ตอนฉันเรียนก็ไม่ได้มีปัญหากับค่าชุด แต่ฮัลโหล คนที่เขามีปัญหา มันมีค่ะสาว พ่อแม่ที่ต้องเอาของไปจำนำก่อนโรงเรียนเปิดเทอมเยอะแยะ แล้วทุกวันนี้ ชุด…อะไรเยอะไปหมด ทั้งชุดนักเรียน ชุดพละชุดลูกเสือ-เนตรนารี ชุดไทย (มึงจะใส่ชุด…ไรกันนักหนา)

แล้วถ้าอยากลดความเหลื่อมล้ำ ความไม่เท่าเทียมในสังคมจริงๆ รัฐบาลกำหนดเลยค่ะ ทุกโรงเรียนใส่เครื่องแบบเหมือนกันหมด (เกาหลีเหนือโมเดลกันไปเล้ย) และรัฐบาลเป็นคนช่วยเรื่องค่าใช้จ่ายตรงนี้เอง (แต่ถ้าตู่อยู่ต่อ ก็ฝันไปเถอะ นโยบายสี่ปีที่แล้วยังทำไม่ได้เลย)

สำหรับคนที่สงสัยว่านักการศึกษาคืออะไร นี่ก็ไม่รู้ว่าจะแปลเป็นอะไรในภาษาไทยค่ะเพราะ…ไม่มีอาชีพนี้ แต่กูเกิลมันแปลเป็นคำนี้ แต่ดิชั้นคือผู้ที่เชี่ยวชาญด้านสังคม จิตวิทยา และการพัฒนามนุษย์ (Pædagog) ซึ่งทำงานได้ทั้งกับเด็ก ผู้ใหญ่และคนชรา ก็คือคนทุกวัยอ่ะค่ะ ตั้งแต่เกิดจนจะลงโลง

สุดท้ายนี้จะบอกว่าทุกสังคมมันมีวิวัฒนาการของมันค่ะ คนที่ริเริ่มทำอะไรวันนี้เขาอาจจะถูกมองเป็นคนแปลก คนหัวรุนแรง แต่อีกห้าปีสิบปี ถ้าบริบทสังคมเปลี่ยน มุมมองของสังคมต่อคนเหล่านี้ก็จะเปลี่ยนไป เปิดใจกว้างๆ กันเด้อ เปิดหน้าต่างจากกะลาออกมาดูโลกกว้างบ้าง

“กระแสสังคมเรื่องหยกตอนนี้ ทำให้เห็นชัดเลยว่าคนไทยจริงๆ ยังเป็นอนุรักษนิยมอยู่มากเลยค่ะ”

แล้วการศึกษาไทยและยุโรป ต่างกันอย่างไร ?

(ในยุโรป)เขาก้าวไปข้างหน้าเรื่อยๆ อ่ะค่ะ เพราะเขาสอนให้เยาวชนเขารู้จัก Norm Criticism สังคมมันเลยไม่ได้ย่ำอยู่กับที่ มันมีการพัฒนาตลอด เขาสอนให้เด็กรู้จักคิดและวิเคราะห์เองตั้งแต่เด็กๆ สอนให้เด็กๆ รู้จักการตั้งสมมุติฐานในเชิงวิทยาศาสตร์ (ผ่านการเรียนรู้โดยการเล่น, การลงมือทำ, การเรียนรู้ไปพร้อมผู้สอน) ผู้ใหญ่ไม่ได้สอนให้เด็กท่องจำ สิ่งนี้เลยทำให้ Norm เขาเปลี่ยนแปลงและพัฒนาให้เข้ากับกาลเวลาและสังคมค่ะ ที่ไทยตัวแปรที่ทำให้เกิดการมีการวิจารณ์บรรทัดฐานในสังคมอาจจะเยอะหน่อย (ศาสนา, สถาบัน, โครงสร้างครอบครัว, ค่านิยมคนดี) เลยทำให้คนไม่กล้าคิดต่าง เพราะกลัวการถูกปฏิเสธในการเข้าร่วมกลุ่มในสังคมนั้นๆ ประเทศเราต้องมีการปฏิรูปการศึกษาค่ะ สังคมมันจะได้ไม่ย่ำอยู่แค่ “ก็กฎมันเป็นแบบนี้ เขาทำกันมาตั้งนานแล้ว”