โดย ออม วชิรญาณ์
เนื่องในโอกาสครบรอบ 92 ปี การอภิวัฒน์สยาม 24 มิถุนายน 2475 สมาคมทะเลขอนำเสนอบทความพิเศษเกี่ยวกับ “บ้านอองโตนี” อดีตบ้านพักของ ศ.ปรีดี พนมยงค์ หนึ่งในผู้นำหลักของคณะราษฎร ผู้มีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย
สมาคมได้ส่งสมาชิกนำโดย ออม วชิรญาณ์ อุดมญาติ และ ป๊อป ชวลิต ตั้งวงษ์พิบูลย์ เข้าร่วมกิจกรรม “คืนสู่บ้านปรีดี” 17-18 พฤษภาคม 2567 ที่ประเทศฝรั่งเศส โดยธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้าและผู้รับช่วงต่อบ้านหลังนี้ ได้นำการแถลงข่าวเปิดตัวบ้านของรัฐบุรุษอาวุโส ไปพร้อมกับ ดุษฎี พนมยงค์ และ สุดา พนมยงค์ บุตรสาวของอาจารย์ปรีดี พร้อมกิจกรรมที่น่าสนใจ ร่วมกับคณะก้าวหน้า พรรณิการ์ วานิช, ปิยบุตร แสงกนกกุล และ ชำนาญ จันทร์เรือง พร้อมด้วย ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ นักประวัติศาสตร์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ อาจารย์ สุลักษณ์ ศิวรักษ์ หรือ ส. ศิวรักษ์ นักคิดนักปรัชญาคนสำคัญของไทย
ออม และ ป๊อป จะนำคำถามที่รวบรวมจากหลากหลายมุมมอง โดยสมาชิกสมาคมจากหลายประเทศ และเครือข่ายของเราทั่วโลก เพื่อนำมาแลกเปลี่ยนในกิจกรรมครั้งนี้
รายละเอียดกิจกรรม
📅 17 พฤษภาคม 2567:
- ปิคนิครำลึก: เริ่ม 16:30 น. สัมผัสบรรยากาศสวนหลังบ้าน อ.ปรีดี พบปะครอบครัวพนมยงค์ ฟังเรื่องราวความทรงจำ ลิ้มลอง “ข้าวต้มกุ๊ย” เมนูโปรดของท่าน
📅 18 พฤษภาคม 2567:
- 10:00-12:00 น. เสวนาการเมืองกับคณะก้าวหน้า: ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ, ปิยบุตร แสงกนกุล, พรรณิการ์ วานิช
- 14:00-15:00 น. แถลงข่าว “ฟื้นฟูบ้าน อ.ปรีดี”: โดย ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ และปิยบุตร แสงกนกุล
- 15:00-16:00 น. เสวนา “1932-2032: หนึ่งศตวรรษประชาธิปไตยไทย”: โดย ศ.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และ อ.สุลักษณ์ ศิวรักษ์
คลายข้อสงสัยกันก่อน
ทางสมาคมได้สอบถามผู้จัดงานและผู้ดูแลบ้านปรีดีเกี่ยวกับการพัฒนาบ้านปรีดี และได้รับคำตอบมาโดยสรุปว่า
แผนการพัฒนาบ้านอองโตนี
ยากปรับปรุงให้พร้อมเปิดงานวันที่ 11 พค ปีหน้า โครงสร้างภายนอกรักษาไว้ให้เหมือนเดิม
ชั้น2 – จัดเป็นที่พักให้แขกและนักท่องเที่ยว เงินใช้บำรุงพิพิธภัฑณ์
ชั้น1 – จัดนิทรรศการเกี่ยวกับเรื่องส่วนตัวและครอบครัวของอ.ปรีดี
ชั้น0 และสวน – ปรับพื้นที่ให้ใช้จัดกิจกรรมได้ สนับสนุนงานทุกด้าน ประวิตศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เมื่อรัฐไทยมีความพร้อม ธนาธรพร้อมส่งต่อให้ หมายความว่ารัฐยอมรับความผิดพลาดในอดีต ยอมรับคุณค่าทางประชาธิปไตย และยอมรับในหลักการของคณะราษฎร์
สมาคมคนไทย อย่างสมาคมทะเล จะขอสถานที่มาจัดกิจกรรมที่นี่จะได้หรือไม่?
ยินดีทุกกิจกรรม อยากให้บ้านได้ใช้ประโยชน์เยอะๆ แต่ยังต้องมีการปรับปรุงบ้านก่อน หากจะใช้ติดต่อสมาคมนักเรียนไทยในฝรั่งเศสหรือธนาธรโดยตรง
สนทนากับครอบครัวพนมยงค์
คนทำงานในคณะราษฎร
สมาคมทะเล: คนในครอบครัวพนมยงค์ มองคนทำงานในคณะราษฎรว่าเป็นอย่างไร รู้สึกว่าเป็นญาติพี่น้องกันไหม
ครอบครัวพนมยงค์: ในสมัยแรกๆ สนิทกันมาก ทั้งรุ่นอ.ปรีดีและรุ่นลูกๆ เพราะถือเป็นเพื่อนร่วมอุดมการณ์เดียวกัน ตอนหลังก็ยังมีติดต่อกันบ้าง แต่หลังจากที่จุดยืนไม่ตรงกันกับจอมพลป. ก็ห่างๆกันไป ไม่ได้ติดต่อกัน แต่ก็มีเจอกันร่วมทำบุญที่วัดงาน 24 มิ.ย. ลูกจอมพลป.ก็ยังมีทัก อ.แป๋ว ส่วนลูกพลพยุหเสนาไม่ได้ติดต่อกันหายๆไป
พิพาทกับอัครราชทูตสยาม
สมาคมทะเล: ในปี 2467 ปรีดีก่อตั้งสมาคมนักเรียนไทยในกรุงปารีส ต่อมาเขาเกิดพิพาทกับอัครราชทูตสยามประจำกรุงปารีส ทะเลาะกันเรื่องอะไร
สุดา พนมยงค์: เรียกร้องเรื่องความไม่เป็นธรรมให้ทุนนักเรียนรัฐบาล เรื่องการจ่ายเงินทุนให้คิดเรทแลกเปลี่ยนให้เหมาะสม
ปรีดีเป็นนักเรียนทุนรึเปล่า
สมาคมทะเล: ปรีดีเป็นนักเรียนทุนรึเปล่า สมัยนั้นมีข้อบังคับแบบสมัยนี้ไหมที่ให้ต้องกลับไปใช้ทุน
ครอบครัวพนมยงค์: ให้กลับไปทำงานใช้ทุนปกติ แต่อาจจะยังไม่มีรายเอียดว่านานแค่ไหน
ขัดต่อหลักสมบูรณาญาสิทธิราชย์
สมาคมทะเล: วิชากฎหมายปกครองที่ปรีดีเป็นแรกที่เริ่มสอน มีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร ขัดต่อขัดต่อหลักสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไหม แล้วทำไมสอนได้
ครอบครัวพนมยงค์: เนียนๆแอบสอน เรื่องกฎหมายปกครอง
บ้านที่จีน
สมาคมทะเล: บ้านที่จีนของครอบครัวปรีดี ยังมีอยู่ใหม่
ครอบครัวพนมยงค์: อาจจะมี แต่เราไม่ได้เป็นเจ้าของ ทางการเขาจัดให้อยู่ ให้ดีตามสมควร หลังเล็ก แต่มีรถพร้อมคนขับให้ อยู่ที่นั่นประมาณ 9 ปี รู้สึกคุ้นเคยบ้านอองโตนีมากกว่า เพราะอยู่นานกว่าและพร้อมหน้าพร้อมตากับคนในครอบครัวมากกว่า
ด้อมปรีดี
สมาคมทะเล: สมัยนี้มีด้อม, แฟนคลับหรือคนตามกรี๊ดลูกนักการเมือง แบบลูกสาวสุดารัตน์ หรืออย่างอุ๊งอิ๊ง(ลูกสาวทักษิณ) — สมัยนั้น มันมีอะไรแบบนี้ไหม บรรยากาศด้อมมันเป็นยังไง ดำเนินไปด้วยวิธีไหน ถ้าไม่มี คิดว่า เพราะอะไร และมีความเห็นอย่างไรกับการมีด้อม
ครอบครัวพนมยงค์: มี แต่ไม่เชิง เช่นเวลาไปไหนคนทัก คนบอกชื่นชอบ นับถืออ.ปรีดี ไปร้านอาหารเจอรูปอ. คนเห็นนามสกุลก็จะทัก แต่ไม่ได้ตามกรี๊ด ขอลายเซ็น อ.แป๋วบอกก็รู้สึกดีใจ
คดีสวรรคต
สมาคมทะเล: ก่อนหน้านี้ไม่นาน มีข่าวการรื้อฟิ้นคดีสวรรคตของ ในหลวง ร.8 เข้าใจว่าจะเป็นการคืนความยุติธรรมให้จำเลย 3 คนที่ถูกประหารชีวิต ทางครอบครัวพนมยงค์ และอาจารย์สุลักษณ์ คิดเห็นอย่างไรบ้างครับ และ จะมีความเป็นไปได้แค่ไหนครับ
ครอบครัวพนมยงค์: ทางครอบครัวรู้อยู่แล้วว่าอ.ปรีดีบริสุทธิ์ และไม่ติดอะไรหากมีการรื้อคดีขึ้นมาพิจารณา
สนทนากับคณะก้าวหน้า ธนาธร ปิยบุตร พรรณิการ์
ผู้นำทางจิตวิญาณ
สมาคมทะเล: ในฐานะของคณะก้าวหน้า ที่เป็นเสมือนผู้นำทางจิตวิญาณของพรรคก้าวไกล จะทำยังไง เมื่อตอนนี้พรรคก้าวไกลเริ่มทำการเมืองแบบ การเมือง “คนดี”, สูงกว่าใคร, ดีกว่าใคร, ใช้วาทะกรรม ซึ่งท้ายที่สุดจะก็ไม่เป็นผลดีกับประชาธิปไตยในระยะยาว
ปิยบุตร: มองว่าสมัยอนาคตใหม่ ไม่ได้ใช้วิธีวิจารณ์พรรคอื่น ไม่ได้บอกว่าอนาคตดีกว่าพรรคอื่นยังไง แค่รู้สึกว่าคำว่า “ประชาธิปไตย” ที่เคยใช้มา ไม่เหมือนกับคำว่า ”ประชาธิปไตย” ที่เขาหมายถึงดังนั้นจึงเน้นขายความแตกต่าง สร้างทางเลือกให้กับประชาชน โดยบอกว่าถ้าเรามีอำนาจ เราจะดำเนินนโยบายอะไรบ้าง แล้วให้ประชาชนตัดสินใจเลือกเอาเอง
แต่ยอมรับว่าอาจจะมีก้าวไกลบางคนที่หลงรู้สึกจริงๆว่า “ฉันเก่งกว่า ดีกว่าคนอื่น” ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของแกนนำพรรคที่ต้องคอยเตือนและชี้นำให้นำเสนอนโยบายที่เป็นทางเลือกให้กับประชาชน ต้องระวังการพาดพึงถึงพรรคอื่น และต้องรู้จักถ่อมตัว
ธนาธร: เราจะต้องชี้ให้เห็นถึงปัญหา และเสนอทางออก
พรรณิการ์: การพูดถึงพรรคอื่นเรื่องที่ต้องระมัดระวัง แต่มันมีเส้นบางๆระหว่างการวิจารย์พรรคอื่นกับมารยาททางการเมือง อย่างไรตาม จำเป็นต้องทำการหลักการ คือ ถ้าเรื่องไหนส่งผลกระทบต่อประชาชนก็จำเป็นต้องพูด เอาผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก
นักเรียนไทยในต่างประเทศ
สมาคมทะเล: ช่วยสรุปบทบาทของนักเรียนและคนไทยในต่างประเทศกับพรรคก้าวไกล
ธนาธร: แสดงจุดยืนในด้านต่างๆ สนับสนุนแนวคิดประชาธิปไตย รวมทั้งแสดงออกในที่สาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กๆ เช่น แสดงความเห็น กดไลค์ กดแชร์คอนเท้นต์ทางการเมือง
สนับสนุนด้วยเงิน บริจาคให้พรรคก้าวไกล ร่วมซื้อของที่ระลึกของพรรค เช่น เสื้อ หนังสือ ฯลฯ
สนับสนุนด้วยความรู้เฉพาะทางในด้านต่างๆ อยากให้เข้ามาแลกเปลี่ยนความคิด + ประสบการณ์กันเยอะๆ
พรรณิการ์: เสริม 3 ข้อ
ร่วมการสมัครสมาชิกพรรคก้าวไกล สามารถทำผ่านเว็บไซต์ได้เลย
ร่วมอุดมการณ์ประชาธิปไตย เติบโตในสาขาอาชีพตัวเอง ถ้าเป็นไปได้ใช้ความรู้ที่มีกลับมาทำงานที่ไทย ฟื้นฟูระบบราชการ
อย่าหมดหวัง อย่ารอการเปลี่ยนแปลงจากใคร แต่มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงของประเทศไทย
หนึ่งศตวรรษประชาธิปไตยไทย: อ.ชาญวิทย์ & อ.สุลักษณ์
สมาคมทะเล: 1932 ถึงปัจจุบัน ประเทศไทยมี Democratization คิดว่าตอนไหนบ้าง อยากถามมุมมองแต่ละวิทยากร
อ.ชาญวิทย์: สรุป 10 เหตุการณ์การเมืองสำคัญที่เกิดขึ้นในกรุงเทพ ในช่วงประมาณ 150 ปีที่ผ่านมา
- สมัยร.4 อายุ 61 – การแปลรัฐธรรมนูญของอเมริกาให้เป็นภาษาไทย และตีพิมพ์ให้หนังสือพิมพ์ Bangkok Recorder
- สมัยร.5 อายุ 31 – การเสนอให้ปฏิรูปการปกครองของไทยให้เป็น Royal Democracy เหมือนของญี่ปุ่น แต่ร.5 บอกชะลอไว้ก่อน คนเสนอต้องลี้ภัยการเมือง
- สมัยร.6 อายุ 40 – กบฏหมอเหล็ง แต่ไม่สำเร็จแผนรั่ว โดนขังคุกก่อน
- สมัยร.7 อายุ 39 – คณะราษฎร์ 2475
- สมัยร.9 อายุ 20 – รัฐประหารนำโดย ผิน ชุณหะวัณ
- ร.9 อายุ 30 – รัฐประหารแฝดปี 2501นำโดนส.ธนะรัชน์ ทำให้มีการเลือกตั้งสกปรกและอำนาจกลับไปอยู่ที่รัฐบาลทหาร
- ร.9 อายุ 43 – 14 ตุลาคม 2516 วันมหาวิปโยค หรือวันมหาปิติ ผู้หญิงเริ่มเข้ามามีบทบาทในการปฏิวัติ
- ร.9 อายุ 45 – 6 ตุลาคม
- ร.9 อายุ 52 – พฤษภาทมิฬ
- เมษา-พฤษภาอำมหิต 2553 แยกราชประสงค์
ตั้งแต่คศ.2016 หลังสิ้นสุดสมัยร.9 เป็นการต่อสู้ระหว่างระบบอำนาจเก่ากับอำนาจใหม่ ซึ่งเป็นต่อสู้ของทั้งคนรุ่นเก่าและคนรุ่นใหม่ ถือเป็นปรากฏการณ์สำคัญ อ.ชาญวิทย์ถามคำถามทิ้งไว้ว่า การเมืองไทยจะเปลี่ยนแปลงแบบสันติได้ไหม และจะเปลี่ยนแปลงไปทิศทางไหน(ซ้าย-กลาง-ขวา) อยากรอดูความเปลี่ยนแปลงในเร็วๆนี้
อ.สุลักษณ์ : เพิ่มเติมว่า เทียนวันที่โดนจับ 14 ปี
เน้นความสำคัญและคุณประโยชน์ของขบวนการเสรีไทย รวมทั้งคุณงามความดีของ อ.ปรีดี อยากให้คุณรุ่นใหม่ส่งเสริมจิตสำนึกของอ.ปรีดี คือ ให้เข้าใจประวัติศาสตร์ สาระสำคัญของเสรีภาพและประชาธิปไตย รวมทั้งส่งเสริมกระบวกการประชาธิปไตยทั้งในไทยและประเทศเพื่อนบ้าน
ย้ำความชั่วร้ายของคณะรัฐประหาร บอกว่าจุดผิดพลาดของคณะราษฎร์คือเลือกพระยามโนปกรณ์มาเป็นนายก เพราะยังมีความคิดแบบราชาธิปไตย
บ้านปรีดี
หากคุณต้องการไปเยือนบ้านปรีดี หรือ “บ้านอองโตนี” สามารถแวะเวียนไปชมได้ที่
25 Av. Raymond Aron, 92160 Antony, France
https://maps.app.goo.gl/iSYuWyw48Mo4soQf7