ก้าวไกล รับฟังประเด็นจากนอกประเทศผ่านสมาคมทะเล

ตัวแทนสมาคมได้เข้าพบ (ว่าที่) ส.ส. ของ พรรคก้าวไกล – Move Forward Party ทั้งแบบบัญชีรายชื่อและแบ่งเขต ที่อาคารอนาคตใหม่ เมื่อ 30.05.23 เพื่อนำเสนอ คำถาม ผลโพล ประเด็นความต้องการจากคนไทยนอกประเทศ ซึ่งประเด็นเหล่านี้ได้รวบรวมผ่านทางสมาชิกและเครือข่ายของสมาคมหลายสิบองค์กร-หน่วยงาน ทั้งในยุโรปและหลายประเทศนอกยุโรป

ทางสมาคมรู้สึกยินดี ที่ทางพรรคก้าวไกลเปิดประตูให้กับประชาชนในมิติที่มีความเป็นมนุษย์จับต้องและเข้าถึงได้ และขอขอบคุณเวลาของสมาชิกก้าวไกล นิว อาจารย์จวง เป๊ก ไอติม แบ๊ง ต้า แบงค์ ที่มานั่งแลกเปลียนกัน

ประเด็นคำถามจากคนไทยนอกประเทศ

Digitalization 
บทเรียนจากการเลือกตั้งนอกประเทศ
จากการลงพื้นที่ของสมาคมเพื่อช่วยเหลือการลงทะเบียนเลือกตั้ง พบว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งในต่างประเทศมีปัญหามาก (ดู https://thalay.eu/election1)  ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องของ digital transformation เราจะพัฒนาอะไรจากสิ่งนี้ต่อได้บ้าง
(FYI : คนที่พบเจอปัญหาเหล่านี้ ส่วนใหญ่เล่าให้สมาคมฟังว่าสนับสนุนพรรคก้าวไกล)
มีใครดูเรื่อง cyber security ไหมคะ
Social work
คนไทยส่งเงินกลับไทยปีหนึงหลายหมื่นล้านบาท
การดูแลคนไทยในต่างประเทศก็ควรจะทั่วถึง และได้รับการยอมรับเหมือนคนในประเทศ
มีผู้ชายคนนึงบอกสมาชิกสมาคมว่า เวลาเขามีปัญหา ก็ไม่รู้จะคุยกะใคร เพราะองค์กรส่วนใหญ่ก็โฟกัสที่เพศหญิงเป็นหลัก สมาคมบ้านหญิงก็จะเน้นช่วยผู้หญิง
คนไร้บ้านในประเทศพัฒนาแล้ว 
เราจะเห็นว่า ไม่ว่าประเทศพัฒนาแล้ว หรือกำลังพัฒนา ก็จะมีปัญหาคนไร้บ้านเหมือนกัน แต่การดูแลช่วยเหลือนั้นต่างกันก้าวไกลมีนโยบายที่จะช่วยเหลือ ดูแล หรือลดปริมาณคนไร้บ้านบ้างไหม
Human Rights
นิรโทษกรรม
การนิรโทษกรรมผู้ต้องหาคดี ม.112/116 ที่อยู่ต่างประเทศ ที่เกิดจากความไม่ชอบธรรมของกฎหมาย ก้าวไกลมีการเล็งเห็นประเด็นนี้บ้างไหม และ มีแนวทางการแก้ไขปัญหาเรื่องนี้อย่างไร
ไอติม
here krubhttps://election66.moveforwardparty.org/policy/detail/policy_31
สภาในยุโรป
อยากถามก้าวไกลว่ามายุโรปบ่อยๆอ่ะ นัดคุยกับคนในสภาของแต่ละประเทศเพื่อผลักดันให้รัฐบาลเผด็จการในไทยและประเทศเพื่อนบ้านแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและปัญหาสิทธิมนุษยชนบ้างไหม
กฎหมายออนไลน์
นโยบาย ต่างประเทศ ทั้ง พม่า และยูเครน ผู้ลี้ภัยการเมืองในต่างประเทศ ensure freedom of expression อย่างไร แม้พวกเราจะอยู่ต่างประเทศ เราก็โดนกฎหมายออนไลน์ได้ 
ประกันสังคมกรมแรงงานรู้ไหมว่าตอนนี้ลูกจ้างถูกเอาเปรียบ โดยไม่ทำประกันสังคมให้ หรือ ทำให้แต่ ไม่ได้แจ้งจำนวนเงินเดือนเต็ม ที่ได้รับ เพราะทางผู้จ้างจะได้ส่งเงินสมทบให้น้อย  และลูกจ้างไม่ได้พัก1ชม.ตามกฎหมาย จะช่วย แรงงานยังไง อธิบายพอสังเขป
Education
นักเรียนไทยในต่างประเทศ
จนถึงตอนนี้ยังไม่เห็นพรรคไหนพูดสิ่งนี้เลยเช่นปัญหาทุนวิจัยที่ต่ำต้อย ปัญหาสมองไหล ปัญหานักเรียน ป เอก ที่ได้ทุนไทยมา ต้องใช้หนี้ถึง 3 เท่า ถ้าไม่กลับไทย
แล้วก็มีแนวคิดเรื่องการปลดปล่อยนร.ทุนที่ติดสัญญาทาสไหม
Inclusion และทั่วถึง
ในยุโรป การศึกษามาหลายทางเลือกมาก (ไม่ใช้แค่เพียงวิธีการสอน)เช่น Dual Study และ Apprenticeship
ทำอย่างไรให้เยาวชนได้มีการศึกษาที่รองรับตามความเหมาะสม ไม่ใช่มีแค่ ประถม มัธยม ปวช ปวส
เพื่อไทยพูดอยู่ เรื่อง passport power
ทำยังไงให้คนไทยเดินทางในยุโรปได้ง่ายๆ จะได้เดินทาง เรียน ทำงานได้สะดวก เปิดหูเปิดตา เปิดโอกาส 
ไอติม
อันนี้เห็นตรงกัน / ทางทีมเราเคยไล่ดูประเทศที่เรายังไม่ได้ free visa และคิดว่าน่าจะตั้งเป้าหมายในการเพิ่มประเทศที่เข้าได้โดยไม่ต้องใช้ visa ได้สัก 40 ประเทศ
เรียนรู้ตลอดชีพ
มีแนวทางการสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีพอย่างไร เพราะการศึกษาหรือสายงานที่เรียนมาอาจใหม่เหมาะสมกับงานที่ทำในปัจจุบัน หรืออาจต้องเปลี่ยนสายงานใหม่
ความพร้อม
ทำอย่างไรให้เด็กไทยมีความพร้อมที่จะใช้ชีวิตและทำงานในศตวรรษที่มีความ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และต้องปรับตัวให้กับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ไม่หยุดนิ่งและไม่สามารถคาดเดาได้ เช่น misinformation, disinformation, ChatGPT
โอกาสให้คนไทย
มีแผนที่จะเปิดโอกาสให้คนไทยในต่างประเทศใช้ความรู้ความสามารถในด้านต่างๆ ของตนมาช่วยในการพัฒนาและแก้ปัญหาของประเทศหรือไม่อย่างไร
บริกหารสถานศึกษา
ทำอย่างไรสถานศึกษาจึงจะบริหารเองโดยคนในชุมชนและผู้ปกครอง ผ่านการเลือกตั้งอย่างเป็นอิสระได้ โดยมีงบประมาณเพียงพอจากท้องถิ่นและสมทบจากส่วนกลาง
ความเท่าเทียม
ทำอย่างไรสถานดูแลเด็กก่อนประถมวัยจึงจะมีคุณภาพเท่าเทียมกันทั่วประเทศ
ที่เยอรมันมี FSJ (Voluntary social year) กก จะผลักดันให้มีโครงการแบบนี้ที่ไทยได้ปะ ให้เด็กได้ค้นหาตัวเอง take a gap year แบบได้อะไรอะ
ทำอย่างไรสถาบันการศึกษาสามารถบริหารตัวเองอย่างอิสระได้ เช่น พรฎ.องค์กรมหาชน
ทำอย่างไรสถาศึกษาจึงจะสามารถรับเงินจากท้องที่/ท้องถิ่น เป็นส่วนใหญ่ และส่วนน้อยจากส่วนกลาง
ทำอย่างไรจึงจะทำให้มีความหลากหลาย ในการจัดการคุณภาพของสถานศึกษา เช่นการตรวจสอบโดยบุคคลที่สาม ที่ไม่จำกัดว่าต้องเป็นองค์กรของรัฐไทย เช่น ระบบ IB หรือเทียบเท่า
ยกระดับมาตรฐานครู: จากหลายนโยบายของก้าวไกลเห็นว่ามีหลายนโยบายที่พัฒนาคุณภาพชีวิตของครูแต่อยากให้มีการอบรมครู หรือมีการบรรจุในหลักสูตร เกี่ยวกับความรู้ด้าน mental health เหมือนในโรงเรียนนานาชาติหรือเอกชนหลายแห่งที่มีการอบรมครูและมีการสอบก่อนที่จะไปสอนนักเรียน เพราะ ปัญหาการบุลลี่ในโรงเรียนบางส่วนเกิดจากครูเองด้วยซ้ำ ทั้งการเลือกปฏิบัติ (เด็กห้องเรียนดี กับเด็กห้องธรรมดา) การด่านักเรียนต่อหน้าสาธารณะ การบุลลี่รูปร่างหน้าตา ทำให้ชีวิตในโรงเรียนไม่มีความสุข
ส่งเสริมการเรียนสายต่างๆ เนื่องจากมีปัญหาเรื่องการแบ่งชนชั้นในโรงเรียน โดยสามารถดูได้ง่ายจากการแบ่งนักเรียนห้องเก่ง และห้องท้าย โดยปกติในหลายๆโรงเรียนจะแบ่งสายการเรียนเป็น วิทย์-คณิต ศิลป์-ภาษา และอื่นๆ อยากให้ทางรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมความสำคัญกับสายต่างๆ รวมไปถึงสายอาชีพ เพื่อให้เยาวชนเห็นว่าทุกสายอาชีพมีความสำคัญ
ปัญหาการเข้าไม่ถึงการศึกษา: บางครอบครัว ไม่สนับสนุนให้ลูกไปโรงเรียน ด้วยเหตุผลว่า เรียนไปก็เสียเวลา ทำงานหาเงินให้ที่บ้านดีกว่า และเด็กบางคนโดนพ่อแม่บังคับแต่งงานกับคนรวยตั้งแต่อายุไม่ถึง 15 ปี ทำให้ขาดโอกาสทางการศึกษา ทั้งยังเป็นการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของเด็ก ทางรัฐบาลมีแนวทางการแก้ไขปัญหานี้อย่างไร?
คนไม่เรียนครูมีนโยบายปลดล็อคคนไม่เรียนครูโดยตรง สามารถเป็นครูได้ หรือไม่? 
วิชาประวัติศาสตร์นโยบายของรัฐบาลที่ผ่านมามีการพยายามทำให้การศึกษาวิชาประวัติศาสตร์ เฉพาะประวัติศาสตร์ไทยนั้นจำกัดลงเป็นอย่างมาก บุคลากรในพรรคก้าวไกลมีการปรึกษาและพูดคุยในการจะเปลี่ยนแปลงเรื่องนี้หรือไม่อย่างไร
กระทรวงศึกษาธิการถ้าคนของพรรคไม่ได้ตำแหน่งรมต.กระทรวงศึกษาธิการ ทางก้าวไกลจะทำยังไงเพื่อพลักดันนโยบายทางการศึกษาคะ
การศึกษาปฐมวัยถ้าดูนโยบายการศึกษาของทั้งเพื่อไทย และก้าวไกล ก็ยังไม่มีนโยบายเกี่ยวกับการศึกษาปฐมวัย(0-6ปี) ซึ่งตามทฤษฎี/วิจัยของนานาชาติ เป็นวัยที่สำคัญมาก ทางทุกๆพรรคร่วมจะมีแนวทางพัฒนาตรงนี้มั้ยคะ
Art & Creative Economy
Food space
for such a small country Thailand has had such a big impact in the world in terms of bringing Thai cuisine to the wider west. As a native of Thailand who has spent time living and experiencing cities like Berlin, London and Paris even smaller places like Kassel. I’ve come to the understanding after meeting many Thai communities in these places that there aren’t many spaces that offer integration into society. 
Since moving to the UK from a young age and meeting other Thais who have moved alone, I have found that most of these immigrants among many others who gravitate towards Thai restaurants and Thai temples for either work or as a meeting place, however I believe they are in search of something much deeper which is a sense of belonging and a home away from home. Which begs the question: how can we further improve or perhaps encourage integration for Thai immigrants moving to the EU, also how can we reimagine and cultivate existing infrastructures like Thai temples, community space and eateries like restaurants.
–Creative Economy
I would like to suggest the party/officers to reframing the scope of Thailand’s ‘Creative Economy’ from its focus on entrepreneurs and corporate-making to covering the area of art education and cultural value. The recent ‘CE’ model resulting the gentrification in the cities by malls and small companies, causing art and design to be justified by its partial value of ‘value making’ and ‘decoration’ taking away the importance of cultural and artistic discourse. This situation of having-no-alternative career paths besides serving companies and business purposes is flattening the dimensions of art study and its value before the eyes of the audience. Nevertheless, according to the situation where I’m based in the Netherlands, which is a neo-liberalism economy, I see the same problems occur, the differences lie in the potential of NL art education and money-pool in support for the cultural makers from states which is a big enough and allowed the space for an occurrence of the alternative discourse.
การลงทุนกับศิลปิน
การอยู่ในยุโรปทำให้เห็นว่ารัฐบาลที่นี่มีการส่งเสริมและลงทุนกับศิลปินรุ่นใหม่ๆอย่างเป็นระบบ อยากทราบว่าก้าวไกลมีนโยบายอย่างไรในการรักษา ดูแล และส่งเสริม talent ในวงการศิลปะที่ไทย ให้สามารถพัฒนาตัวเองและสร้างผลงานออกมาได้หลังจากเรียนจบ อย่างน้อย 3-5 ปีแรก
Computer Litteracy and Tech Startups
ประเทศในแถบแสกนดิเนเวียน โดยเฉพาะสวีเดน มีการวางแผนเรื่อง computer litteracy มาเป็นเวลายาวนาน เช่น ในยุคปลาย 90s รัฐบาลมีนโยบายให้ทุกบ้านมี Personal computer หรือการมี Internet ความเร็วสูงก่อนประเทศใดๆ ผลพวงคือ สวีเดนมีผลิต Tech Startups ระดับโลกมากมายเช่น Spotify, Minecraft หรือ Klarna ผู้ก่อตั้งบริษัทเหล่านี้ล้วนเป็นผลมาจากนโยบายระดับประเทศที่ส่งเสริมลงทุนด้าน Digital ทั้งสิ้น ทางพรรคก้าวไกลมีนโยบายอย่างไรเรื่องการยกระดับความรู้และการลงทุนด้าน Digital บ้าง

ประเทศในแถบสแกนมีเงินลงทุนให้ Tech start-ups พอสมควรเช่นการเปิด Incubator house ตามเมืองใหญ่ๆ start-ups ได้ใช้ Facility ฟรีและได้รับการ Mentorship จาก Start-ups ที่ประสบความสำเร็จ ทางก้าวไกลมีแนวคิดนี้อย่างไร

เมืองไทยมีศักยภาพที่จะให้ Tech starups ทั่วโลกไปตั้งบริษัท เนื่องจากมีอากาศดีและค่าครองชีพยังไม่สูง แต่ Digital nomad ส่วนใหญ่ที่ไปไม่ได้มีโอกาสที่จะแชร์ความรู้ กับคนไทยเลยซึ่งเป็นเรือ่งที่น่าเสียดายมาก เทียบกับประเทศอย่างชิลี ที่เกิดสตาร์ทอัพ และเกิดการ Share knowledge จาก Digital nomad. ทางพรรคมีแนวคิดอย่างไรกับเรื่องนี้
Art as Assest
ทางพรรคมี vision ในการส่งเสริมและรักษสงานศิลปะร่วมสมัยอย่างไร ในแง่ที่ศิลปะร่วมสมัยจะกลายมาเป็น assets ที่สร้างมูลค่าในเชิงเศรษฐกิจและวัฒนธรรมได้ หากดูยุโรป หรือเกาหลี สิงคโปร์ เป็นตัวอย่าง ก็จะเห็นว่างานศิลปะของคนในชาติก็ถูกปลุกปั้นจนกลายเป็นจุดขาย หรือจุดแข็งที่ทำให้เกิดการท่องเที่ยว หรือการซื้อขายที่มีมูลค่ามหาศาล
กระทรวงวัฒนธรรม
อยากทราบว่าทางพรรคมีความคิดเห็นอย่างไรกับโครงสร้างของกระทรวงวัฒนธรรมในปัจจุบัน ที่เป็นการรวมกันของหน่วยงานที่มีความขัดแย้งเชิง agenda เช่น กรมการศาสนา ที่บางครั้งก็มีการทักท้วงการแสดงออกของศิลปินร่วมสมัยที่ต้องการวิพากษ์สังคมและศาสนา (เพราะอาจจะไม่อยู่บนการแสดงออกที่ดีงาม) หรือการที่มี Film Censorship Board (FCB) เซ็นเซอร์ภาพยนตร์อยู่ในกระทรวงเดียวที่โปรโมทและพัฒนาสื่อ เป็นต้น
ในมุมที่สังเกตุเห็นว่าเป็นปัญหาอีกอย่างคือในเชิงบุคลากร เช่นในเวลาที่เจ้าหน้าที่กระทรวงระดับสูงมาจากทางฝั่งศาสนา และไม่ได้มีความเข้าใจหรือความรู้ทางศิลปะเท่าที่ควรจะเป็นแต่ก็ต้องมาปฎิบัติการนำพาศิลปะไทยไปในระดับนานาชาติแบบมีความเข้าใจที่จำกัดมากๆ ก็จะมีความงงหลงทางพอสมควร อยากทราบว่าทางพรรคเห็นอย่างไรกับเรื่องนี้
Soft power กับ อุดมการณ์
ยุโรปมี Soft power ด้านต่างๆอย่างเห็นได้ชัด แต่ก็ด้วยการมีรากฐานทางการเมืองที่เข้มแข็ง และการส่งเสริมศิลปะ-วัฒนธรรมมายาวนาน
มีความคิดอย่างไรเกี่ยวกับ soft power และทางก้าวไกลมีอุดมการณ์อะไรบ้างที่จะใช้ผลประโยชน์จากมัน
การนิยามและการปฎิบัติ
พูดในฐานะคนทำวิเคระาห์ path dependence นโนยายศก.สร้างสรรค์ในไทย ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา
เท่าๆที่ดูๆการให้คำนิยามของ  Creative Economy คือ การนำสินค้าหรือบริการมาเพิ่มมูลค่า โดยผ่านการคิดอย่างสร้างสรรค์ พูดง่ายๆคือ ทำให้มันดูเก๋ ถูกจริตตลาดที่มีกำลังการซื้อ แต่จริงๆแล้วเป็นอย่างนั้นจริงหรอ ส่วนตัวคิดว่า รัฐควรมอง Creative Economy เป็นกระบวนการส่งเสริม Intellectual propert ที่เป็นกำลังสำคัญในcreative economy ซื้อได้มาจากกระบวนทางความคิด ประสบการณ์ ทักษะ หรือมรดกทางวัฒนธรรม
เครือข่ายของคนที่เรียกว่าทำเศรษฐกิจสร้างสรรค์เลยดูเฉพาะกลุ่ม สำหรับคนที่ความเป็น artistic รวมถึงกระบวนการ ที่เข้าถึงยาก ผู้ประกอบการหลายรายมองภาพไม่ออกว่าต้องเข้าไปในช่องทางใด และได้ประโยชน์อะไรจากการเข้าร่วมกลุ่ม ที่สำคัญผลลัพธ์หลายๆครั้งยังเห็นเป็นการกระตุ้นกิจกรรม ad-hoc base อย่างงานเทศกาลศิลปะ ซึ่งดี แต่ว่าประเทศไทยพยายามพูดถึงประเด็นนี้มากว่า 20 ปีแล้ว
เรายังไม่ค่อยเห็นมาตรการ หรือนโยบายที่เป็นรูปธรรม ที่เข้าถึงผู้ประกอบการอย่างเท่าเทียม
Art and Environment (research base)
จากข้อมูลพบว่ามีการผังกลบสารorange agent ที่สนามบินบ่อฝ้ายที่หัวหินในช่วงเวลานั้นและทำการทดลองสารฯ ที่แนวป่าบรืเวณใกล้เคียง
บ้านนอกอยากทำงานประเด็น orange agent ซึ่งเคยทำโปรเจคนี้มาตั้งแค่ประมาณปี2017 เป็นงานresearch base art
Public Health
ปัญหาเชื้อโรคดื้อยา 
ภายในปี 2050 ถ้าปัญหาเชื้อดื้อยายังเป็น เช่นนี้อยู่ คนจะตายจากเชื้อโรคดื้อยา 10 ล้านคนต่อปีทั่วโลก ย้ำนะคะ ต่อปี ถ้าเราสามารถที่จะ ตระหนกและตื่นตูมสุดฤทธิ์กับโควิดได้ ซึ่งมีคนตายเกือบ 6.9 ล้านคนทั่วโลกภายในสามปี เราก็ควร ตระหนักกับปัญหาเชื้อดื้อยาได้ใช่มั้ยคะ? แล้วจะแก้ปัญหานี้ในประเทศไทยอย่างไร
มีนโยบายอะไรมั้ย เกี่ยวกับสถานการณ์เชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ ที่มีการคาดการว่า หากไม่มีการแก้ปัญหา ในปี 2050 จะมีคนตายจากเชื่อดื้อยา ปีละ 10 ล้านคนทั่วโลก (ซึ่งตัวเลขนี้มากกว่าคนตายโควิดรวมกัน 3 ปีอีก)
ปัญหาเชื้อดื้อยา ไม่ใช่แค่ในคน แต่ในสัตร์และอาหาร ถ้าไทยยังมีปัญหานี้หนัก เราอาจจะมีปัญหาในการส่งออกอาหารมาต่างประเทศ โดยเฉพาะ EU
บุคลากรทางการแพทย์
อยากรู้นโยบายเกี่ยวกับบุคลากรทางการแพทย์ที่ไม่เคยเพียงพอ นอกจากนโยบายที่ลดภาระบุคลากร
สิทธิบัตรทองเป็นไปได้หรือไม่ที่จะทำให้ประชาชนทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน ไม่ต้องแบ่งเป็นสิทธิบัตรทอง หรือประกันสังคม ให้เปลี่ยนเป็นใช้บัตรประชาชนใบเดียวเข้าถึงสิทธิประโยชน์ในการรักษาพยาบาลได้ทั้งหมด
ตรวจสุขภาพการตรวจสุขภาพของประชาชน จากนโยบายของก้าวไกลที่มีการให้ประชาชนตรวจสุขภาพประจำปี พร้อมทั้งให้ค่าโดยสาร ซึ่งคิดว่าเป็นนโยบายที่ดี แต่อาจจะไม่ทั่วถึงทุกครัวเรือน ซึ่งปัจจุบันในชุมชนนั้นมี อสม. อยู่แล้ว คิดว่าสามารถร่วมมือกับ รพ. สต. หรือทางโรงพยาบาลประจำจังหวัด ลงพื้นที่ตรวจสุขภาพในชุมชนแทน น่าจะทั่วถึง และเข้าถึงคนในชุมชนห่างไกลมากกว่า
Science & Technology
นักวิจัย
รมต อว คนใหม่ จะทำอะไรเพื่อให้ไทยมี resource ที่เอื้อต่อนักวิจัย รวมถึง freedom in academic ด้วย
ทุนวิจัย
มีแนวนโยบายเรื่องทุนวิจัยที่ไทยยังไงบ้างเพิ่มทุนวิจัยให้เกิน 1-2% ของ GDP กับเค้าสักทีก็ดีฮะ ตามหลังประเทศอื่นมานานนมละ
กุมอำนาจ
ปัญหาเรื่องนักวิจัยรุ่นเดอะเกาะกุมอำนาจอยู่ เวลาพิจารณาทุนก็ให้พวกตัวเองนักวิจัยรุ่นใหม่โตไม่ได้
วงการวิจัย
ในอนาคตเค้าจะมีนโยบายอะไรที่จะช่วยพัฒนาวงการวิจัย-วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศอย่างชัดเจนบ้างไหม เช่นการเพิ่มงบวิจัย การส่งเสริมให้มี career path ที่หลากหลาย นักวิจัยจะได้ไม่หนีไปทำงานต่างประเทศ 
การส่งเสริมการวิจัยและวิทยาศาสตร์จะเป็นวิธีการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน แต่เหมือนว่านโยบายปัจจุบันของไม่ได้เน้นเรื่องนี้อย่างจริงจัง แต่ก็เข้าใจได้เพราะปัญหาปากท้องเป็นเรื่องเร่งด่วน แต่ถ้าอนาคตมีนโยบายเรื่องส่งเสริมวิจัยจริงๆจังๆจะดีมากๆ 🧡
Biotechnologyเป็นไปได้หรือไม่ที่จะมีการส่งเสริม อุตสาหกรรมด้าน Biotechnology ให้สูงแบบที่อเมริกา หรือยุโรป ทั้งในแง่ธุรกิจและงานวิจัย หากสามารถส่งเสริมงานด้าน Biotech น่าจะสามารถสร้างเทคโนโลยีเองในประเทศได้ และสามารถแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังสามารถส่งเสริมเส้นทางอาชีพทางเลือก สร้างโอกาสแก่เยาวชนที่สนใจทางด้านวิทยาศาสตร์
อยากให้ทางรัฐบาลมีนโยบายสนับสนุน start-up ที่มาจากงานวิจัยในมหาวิทยาลัยต่างๆ เพื่อลดการเกิดงานวิจัยขึ้นหิ้ง และทำให้เทคโนโลยีในห้องแลปออกไปสู่ตลาดจริง และลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ
งบประมาณวิจัยเป็นไปได้หรือไม่ที่จะเพิ่มงบประมาณวิจัยให้ reasonable มากกว่าที่เป็นอยู่ เนื่องจากในปัจจุบันมีปัญหาการให้ทุนน้อย และระยะเวลาสั้น แต่ต้องการงานวิจัยคุณภาพสูง ทำให้เกิดการโกงงานวิจัยเกิดขึ้น และปัญหาทุนวิจัยส่วนใหญ่ไปไม่ถึงนักวิจัยรุ่นใหม่ การใช้เส้นสายหรือการเมืองในองค์กร
สมองไหลปัญหาสมองไหล: รัฐบาลมีนโยบายแก้ปัญหาสมองไหล หรือการที่นักเรียนไทยได้ทุนไปเรียนต่างประเทศ แล้วไม่อยากกลับมาทำงานในประเทศหรือไม่? อย่างไร?
อาจารย์มหาวิทยาลัยค่าตอบแทนอาจารย์มหาวิทยาลัย: อยากให้ทบทวนเงินเดือนอาจารย์มหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง ทั้งมหาวิทยาลัย ราชมงคลและราชภัฏ ซึ่งจากปัญหาปัจจุบันมีความแตกต่างของฐานเงินเดือนอย่างมาก และไม่มีสวัสดิการที่ตอบโจทย์ เพราะตอนนี้อาจารย์มหาลัยไม่ถูกบรรจุเป็นข้าราชการ ยิ่งอาจารย์ของราชภัฏ เงินเดือนน้อย แถมยังไม่มีสวัสดิการที่ดี อยากทราบว่ามีแนวทางการแก้ไขปัญหานี้หรือไม่?
อว.
มีคนฝากว่าอยากให้พรรคก้าวไกล ดูแล อว.  เพราะตอนนี้ยังไม่เห็นพรรคไหนแสดงความต้องการเป็น รมต อว  เชื่อว่าพรรคมีทีมและสามารถแก้ไขปัญหาภายในได้ และอยากให้มีผู้เชียวชาญด้านการทำธุรกิจเข้าร่วมพัฒนานโยบายของกระทรวงด้วยค่ะ
fundermental science
มีคนท้วงว่าพรรคการเมืองไม่ค่อยสนใจผลักดัน fundermental science หรืออาจจะไปถึง social sciences 
Environment
ปัญหาขยะจากนโยบายของก้าวไกล เห็นว่ามีนโยบายส่งเสริมการแยกขยะในเอกชนรายใหญ่ และส่งเสริมการแยกขยะอินทรีย์ในครัวเรือน แลกเป็นคูปอง แต่ยังคงมีขยะอินทรีย์ที่ผลิตขึ้นมากมายตามตลาดสด วัด โรงเรียน หรือตามสถานที่ท่องเที่ยว (ตลาดถนนคนเดิน) ทั้งยังมีขยะจากอุตสาหกรรมการเกษตรที่เกิดขึ้นมากมาย อยากให้ทางรัฐบาลลงรายละเอียดเกี่ยวกับปัญหาขยะมากกว่านี้ เช่น การมีธนาคารขยะชุมชน เพื่อส่งเสริมการแยกขยะประชาชนมีรายได้ หรือมีโรงขยะชุมชนที่มีเทคโนโลยีเกี่ยวกับการเปลี่ยนขยะอินทรีย์เป็นแก๊สชีวภาพเพื่อเปลี่ยนเป็นไฟฟ้า อาจจะทำให้ประชาชนมองเห็นความเป็นไปได้ และผลประโยชน์ในการแยกขยะมากขึ้น หากแก้ปัญหาขยะได้ จะนำไปสู้การแก้ไขปัญหาพื้นที่ฝังกลบไม่เพียงพอ การเผาขยะ การสะสมของขยะทำให้เกิดเชื้อโรค ทั้งยังสามารถส่งเสริมความปลอดภัยของอาชีพผู้ที่มีหน้าที่จัดการขยะของเทศบาลอีกด้วย
เผาขยะปัญหาการเผาขยะทางการเกษตร: เนื่องจากตอนนี้มีกฎหมายเกี่ยวกับการห้ามเผา และยังมีการใช้เทคโนโลยีดาวเทียมมาช่วยตรวจสอบการเผา แต่ยังคงมีการเผาอยู่ โดยอาศัยช่องว่างทางเทคโนโลยี เช่น เผาในช่วงเวลาที่สัญญาณดาวเทียมไม่ได้ผ่านพื้นที่จังหวัดที่ตนอยู่ โดยเรื่องนี้น่าจะมีผู้เกี่ยวข้องในส่วนงานนี้เป็นผู้ให้ข้อมูลแก่ประชาชนทางรัฐบาลมีแนวทางแก้ไขเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างไร?
การปนเปื้อนปัญหาการปนเปื้อนสารเคมีทางการเกษตรตามแหล่งน้ำ: เนื่องจากตอนนี้มีการใช้สารเคมีจำนวนมากในภาคการเกษตร และยังมีการใช้โดรนในการพ่นฉีด ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า ทำให้เกิดการปนเปื้อนของสารเคมีเหล่านี้ในแหล่งน้ำชุมชน และน้ำก็ปั๊มไปใช้ในหมู่บ้าน ทางรัฐบาลมีแนวทางแก้ไขเกี่ยวกับเรื่องนี้หรือไม่? อย่างไร?
สารเคมีปัญหาสารเคมีจากโรงงานอุตสาหกรรม: ขออนุญาต ยกตัวอย่างกรณี ปลวกแดง จ.ระยอง ปลวกแดงเป็นแหล่งนิคมอุตสาหกรรม และผู้คนในชุมชนประสบปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจเป็นจำนวนมาก โดนตอนนี้ทางนิคมอุตสาหกรรมมีการชดใช้ให้ผู้ป่วย เพียง หากใครไปโรงพยาบาลด้วยปัญหาระบบทางเดินหายใจ นิคมมีกองทุนให้สำหรับรักษา แต่ไม่มีการเยียวยาหรือชดใช้หลังจากนั้น ซึ่งส่วนตัวคิดว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ และปัญหานี้เกิดขึ้นมานาน นอกจากมลพิษทางอากาศ ยังมีการปนเปื้อนของโลหะหนักในแหล่งน้ำ โดยทางปลวกแดงมีการตรวจเลือดเด็กนักเรียนในทุกปี เพื่อตรวจสอบว่าในเลือดมีโลหะหนักหรือไม่ จะเห็นได้ว่าทุกคนทราบปัญหา แต่ไม่มีการแก้ไข ทางรัฐบาลมีแนวทางแก้ไขเกี่ยวกับเรื่องนี้หรือไม่? อย่างไร?
เขื่อน/แม่น้ำโขงแม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำนานาชาติแต่ทุกประเทศกลับหาผลประโยชน์ของตัวเองเขื่อน20+แห่งล้วนส่งผลกระทบของระบบนิเวศน์, แม่โขงน้ำท่วม-น้ำแล้งขึ้นอยู่กับการปล่อยน้ำจากต้นสายทั้งสิ้น ส่งผลกระทบต่อพื้นที่อีสานโดยตรง มีแนวทางจัดการปัญหานี้อย่างไร
Laws
การลงคะแนนเสียงในต่างประเทศ ใช้วิธีการส่งทางไปรษณีย์
ก้าวไกลมีวิธีช่วยประชาชนจับตามองในส่วนนี้ไหมมันรัดกุมแค่ไหนในการส่งกลับ ทาง ปณมันจะถูกเปลี่ยนได้ไหม หรือ มันจะรู้ไหมว่า เราลงอะไรตอนมาถึงเปิดซอง คนที่จ้างมาไว้ใจได้แค่ไหน มีคนนอกมาสังเกตการทำงานไหม เชิญใครมา คัดเลือกอย่างไร ตอนบรรจุถุงเมลรู้ได้ไงว่าไม่ถูกสลับ/มีการแอบเปลี่ยนซองซองบัตรมาถึง เอาใส่ลงหีบที่สถานทูต แต่กว่าจะเปิดหีบ อยู่ในสถานทูตกี่คืน แล้วจะทำอย่างไรให้โปร่งใส่
ผลประโยชน์จากช่องโหว่ทางกฎหมาย
ช่องโหว่ของกฎหมายและระเบียบราชการที่ยุ่งยาก เปิดทางให้คนในเครื่องแบบหาเงินกับคนไทยในต่างแดน
เวลาหางานต่างประเทศต้องใช้ใบยืนยันว่าไม่มีความผิดอาชญากรรมตามสัญชาติ คนไทยในต่างแดนไม่ได้กลับบ้าน คนที่บ้านก็ทำให้ไม่ได้เพราะไม่ค่อยรู้เรื่อง แทนที่ตำรวจจะทำให้ง่ายแต่ก็ไม่ทำ แต่กลับทำให้คนในเครื่องแบบบางส่วนใช้เป็นช่องทางหาเงิน
เช่นมีการเปิดเพจรับงานกันแบบนี้เลย คนทำคือคนในเครื่องแบบ รับจ๊อบผ่านFacebook/Line ไปหาเอกสารมาจากต้นสังกัดส่งมาได้เลย แต่จ่ายใต้โต๊ะ3-4พัน นอกเหนือจากค่าทำเอกสารที่เค้าคิดแบบถูกกฎหมาย คนไทยในต่างแดนจึงเหมือนเป็นเหยื่อของการคอรัปชั่นเชิงโครงสร้าง
หรือเรื่องเกณฑ์ทหาร คนไทยต่างประเทศจ่ายใต้โต๊ะกันเพียบเพื่อไม่ต้องกลับไปเกณฑ์ทหาร เพราะรายได้ที่นี้ก็เพียงพอกับการที่จะจ่ายเงินใต้โต๊ะ มีมุมมองจัดการอย่างไร
ผลพวงของอำนาจนิยม
คนไทยในต่างประเทศเฝ้ามองการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองจากนอกประเทศ และอยากเห็นการเปลี่ยนแปลงและแก้ไข้ที่เป็นจริง
ก้าวไกลนั้นมีนโยบายเกี่ยวกับกฎหมายหลายๆฉบับที่เป็นผลพวงของอำนาจนิยมยังไง จะไล่รื้อแก้ไปทีละฉบับไหม ยกตัวอย่างเช่น พรบ. NGO ตัวล่าสุดที่ออกโดยรัฐบาลที่กำลังจะหมดวาระครับ
112 เชิงรูปธรรม
ในกรณีที่สามารถผลักดันแก้ไข  112 ได้สำเร็จ อยากให้ยกตัวอย่างเป็นรูปธรรม ของบุคคลอาทิเช่น อ.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ว่าจะต้องผ่านกระบวนการอะไรบ้าง ในเชิง กม. และ เวลาที่จะใช้คร่าวๆในการดำเนินการณ์ สำหรับการสู่เมืองไทย
โครงสร้างภาษี
ประเทศไนยุโรปนั้นเป็นรัฐสวัสดิการ และเป็นที่ทราบกันว่าจัดเก็บภาษีในอัตราสูง เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาประเทศและดูแลประชาชน แต่คนไทยหลายคนมักพูดว่า จ่ายภาษีแพงก็ให้นักการเมืองไปผลาญ
พรรคมีนโยบายจะมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการจัดเก็บภาษีไหม
กระบวนการเลือกตั้งพรรคและพรรคร่วม มีแนวทางอย่างไรกับกระบวนการเลือกตั้ง สรรหาและคัดเลือก สรร
การยอมรับจะทำอย่างไรให้รธน. ฉบับนี้ represents และเป็นที่ยอมรับของ คนทุกส่วน ที่ต้องอยู่ใต้รธน นี้ King to all people (ตอนรธน 60 เกิดปัญหาการเปลี่ยนแปลงรธน บางมาตราหลังประชามติ โดยเฉพาะหมวด 2)
Public service & Foreign affairs
วิกฤติศรัทธาของสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ไทยในต่างประเทศ
มีการวัดผลสัมฤทธิ์การทำงานที่เป็นรูปธรรมหรือไม่ อย่างไร โดยเฉพาะการเชื่อมไทยสู่โลก การเชื่อมโลกสู่ไทย เห็นแต่ทูต /นักการทูตไปวัด ไปรับเสด็จ ต้อนรับคณะจากไทย ไปพบระดับสูงของประเทศเจ้าบ้าน แต่ไม่รู้ต่อยอดอะไร ประเทศได้อะไร อำนวยความสะดวกอะไรประชาชนบ้างในการเข้าถึงตลาดแรงงาน การศึกษา ทุน เศรษฐกิจ
การจัดซื้อจัดจ้างในพื้นที่
สถานทูตใช้งบประมาณในการจัดทำโครงการ และจัดจ้างในต่างประเทศให้ทำกิจกรรมและให้ข้อมูล (โดยไม่มีการตรวจสอบจากภายนอก)
แต่ในทางกลับกันทางองค์กรไทยที่ไม่แสวงหากำไรนำเสนอข้อมูลให้พัฒนากระบวนการทำงานเพื่อประโยชน์ของคนไทยในต่างประเทศ  และเชิญให้มาร่วมให้ข้อมูลกลับ แต่ได้รับการปฎิเสธ
สถานที่ราชการในต่างประเทศมองการวิพากษ์วิจารณ์เป็นศัตรู และเอาภาษีประชาชนไปกับการหาซื้อ Feedback ดีๆกลับมา
เราจะจัดการมุมมองการตัดตอนการพัฒนาของราชการ และใช้ภาษีประชาชนที่มีต้นทุนสูงมากในต่างประเทศได้อย่างไร
สถานทูต
จะทำอย่างไรให้สถานทูตทำงานให้คนไทยและประเทศมากขึ้น
international workforceอยากทราบเกี่ยวกับนโยบาย international workforce จะมีแนวทางใช้คนไทยที่ทำงานใน ตปท. เพื่อพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างไร
หนังสือเดินทางไทยเนื่องจากเป็นรัฐบาลผสม จะเป็นไปได้ไหมที่จะผลักดันนโยบายของเพื่อไทย เกี่ยวกับการเสริมอิทธิพลหนังสือเดินทางไทย พาคนไทยเดินทางไปได้ทั่วโลกโดยไม่ต้องขอวีซ่า
ขนส่งสาธารณะในพื้นที่ชนบท
อยากทราบว่ามีแนวทางจัดสรรงบประมาณอย่างไรเนื่องจากในแต่ละพื้นที่มีความหนาแน่นประชากรและรูปแบบการนเดินทางแตกต่างกัน
ทำไมถึงวางกรอบไว้ว่าต้องเป็นรถเมลืไฟฟ้า”ทุก”จังหวัด มีข้อดีและความจำเป็นมากกว่ารถเมล์ดีเซลอย่างไร (นโยบายของเพื่อไทยให้ท้องถิ่นดูแลวางแผนเอง คิดว่าจะเหมาะสมกับแต่ละพท่นที่มากกว่าการวางแผนจากส่วนกลาง) 
มีความเห็นว่าปัจจุบันการเดินทางก็เป็นอีกปัจจัยในการดำรงชีวิต เป็นโครงสร้างพื้นที่ที่จำเป็นต้องมีให้ครอบคลุม ไม่ควรมุ่งเน้นทำกำไร
ต่อยอด ASEAN
อยากเห็นแนวทางความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน จะมีความร่วมมือหรือการเจรจาผลประโยชน์ร่วมกันไหม รวมถึงอยากเห็นจุดยืนต่อสถานการณ์ความรุนแรงในพม่า-กัมพูชา-ลาวด้วย
การต่อยอด ASEAN จนสร้างความเข้มแข็งให้ภูมิภาคได้
Economy
การรับรองและนิติกรณ์เอกสารข้ามชาติ
คนไทยและต่างชาติต้องจ่ายเงินเยอะมากและเสียเวลาไร้สาระ (ผ่านด่านมากมายทั้งไปติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเทศนั้น ๆ กว่าจะติดต่อกับสถานทูต และเดินทางฝ่ารถติดไปต่อคิวที่กรมการกงสุลแจ้งวัฒนะ เพราะประเทศไทยยังใช้ระบบการรับรองแบบห่วงโซ่) ทั้งๆ ที่ กระทรวงการต่างประเทศสามารถช่วยเหลือพี่น้องประชาชนได้ง่าย ๆ ด้วยการเข้าเป็นภาคีอุสัญญา Apostille ที่ชาติยุโรปเรียกร้องมานานกว่าสิบปี
ซึ่งมันจะลดขั้นตอนและค่าใช้จ่ายไปได้มาก กล่าวคือ แค่รับรองชั้นเดียวจากประเทศภาคีที่ออกเอกสาร ก็เอาไปใช้กับประเทศภาคีได้เลย
ซึ่งอันนี้เป็นอุปสรรคสำคัญทั้งกับการติดต่อราชการทั่วไป (แค่โอนที่ดินบางที่ก็เสียกันเป็นหมื่นๆ) กับที่เกี่ยวกับการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ (เป็นแสนๆ) ซึ่งถ้าปลดล็อกตรงนี้ได้ จะเป็นประโยชน์มหาศาล ซึ่ง กระทรวงการต่างประเทศควรทำนานแล้ว โดยเฉพาะปัจจุบันที่มีเทคโนโลยีมาช่วย จริงๆ ควรโดนฟ้องนะ เพราะสร้างขั้นตอนให้ประชาชนโดยไม่จำเป็น ปากก็บอกจะส่งเสริมการลงทุน แต่เรื่องการรับรองเอกสารระหว่างประเทศนี่ตัวอุปสรรคเลย
คำถามนี้หมัดหนัก และถ้าก้าวไกล ทำให้เข้าใจง่ายให้คนเห็นภาพก็เอามาเป็นนโยบายได้สำหรับเรื่องที่ข้ามชาติได้เลย
สังคมไทยก้าวสู้สังคมผู้สูงอายุไวกว่าประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศ ขณะที่หลายพรรคก็ชูนโยบายด้านสวัสดิการผู้สูงอายุกันมากขึ้น แต่ปัญหาใหญ่คือ ผู้สูงอายุจำนวนมากไม่ได้มีแผนเกษียณที่เพียงพอต่อการใช้ชีวิตโดยไม่ต้องพึ่งลูกหลาน และเงินสนับสนุนจากภาครัฐต่อเดือนไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต ทางพรรค หากได้เป็นรัฐบาลจะมีมาตรการอย่างไรในการดูแลสวัสดิการผู้สูงอายุในระยะยาว และงบประมาณจะมาจากทางใด
ค่าครองชีพของไทยสูงขึ้นอย่างมากในขณะนี้ ขณะที่เงินเดือนทั้งขั้นต่ำและเงินเดือนของแต่ละอาชีพไม่ได้ปรับขึ้นต่อเนื่องตามอัตราเงินเฟ้อและสภาวะเศรษฐกิจมานาน ทางพรรคจะมีมาตรการอะไรในการยกระดับค่าครองชีพพร้อมกับเสริมประสิทธิภาพแรงงานเพื่อให้อุตสาหกรรมไทยสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก
นโยบายที่เกี่ยวกับสวัสดิการถ้วนหน้าตั้งแต่แรกเกิด, การศึกษา, แรงงาน, สุขภาพ และผู้สูงอายุนั้นใช้งบประมาณสูง ขณะที่การจัดเก็บภาษีที่ต่ำและระดับภาระหนี้ภาคสาธารณะที่เพิ่มสูงขึ้นในปัจจุบัน คำถามคือ งบประมาณสำหรับนโยบายด้านสวัสดิการดังกล่าวจะมาจากแหล่งใดบ้าง
ประเทศไทยติดกับดักประเทศกำลังพัฒนามาหลายปี และยุทธศาสตร์ 20 ปีก็ผูกมัดรัฐบาลอีกหลายปี หากพรรคได้เป็นรัฐบาล จะมีแนวทางนโยบายอะไรในการผลักดันให้ไทยก้าวเข้าสู่ประเทศพัฒนา (นอกเหนือจากโครงการลงทุนด้านโครงสร้างสาธารณะขนาดใหญ่)
การขึ้นค่าแรง
การขึ้นค่าแรง 450 บาท ว่า หากจะปรับขึ้นทันที จะเกิด shock ในระบบ ฃการจะเพิ่ม labour productivity มันต้องใช้เวลา ระหว่างทางคือจะรองรับผลกระทบต่อผู้ประกอบการอย่างไร (เพราะเวียดนามเนื้อหอมพร้อมดึงดูดการย้ายฐานมาก)
productivity
labour productivity แย่ จะทำให้รัฐสวัสดิการอยู่ไม่ได้ในระยะยาว เพราะรัฐสวัสดิการมันลดการทำงานของคน ในขณะเดียวกันต้องมีกำลังผลิตเพิ่มเพื่อไปfeedรายจ่าย ทางเดียวที่ทำได้คืออัพtechnology เพื่อให้การผลิตefficient ถ้าอัพtechไม่ได้ รายได้ไม่เพิ่มแต่รายจ่ายเพิ่มเพราะเอาไปทำสวัสดิการในที่สุดหนี้ก็ระเบิด ทางรัฐบาลมีแนวทางแก้ไขเกี่ยวกับเรื่องนี้หรือไม่? อย่างไร?
มีแนวทางเพิ่มศักยภาพการแข่งขันทางการเกษตรอย่างไร ตอนนี้จีน-เวียดนามพัฒนาตัวเองขึ้นมาเป็นคู่แข่งที่น่าจับตา ทั้งข้าว-ทุเรียน-ผลไม้อื่นๆ
ในภาคตะวันออก มีล้งโดยnomineeของทุนจีนเป็นพ่อค้าคนกลางรับซื้อผลไม้ทำให้กดราคาได้ ในหลายครั้งชาวสวนต้องแบกรับความเสี่ยง มีแนวทางจัดการปัญหานี้อย่างไร
Business / Industry
เสริมการลงทุนต่างประเทศ
ประเทศในเอเชียส่งเสริมการลงทุนในยุโรปแบบ inside outอย่างเช่น การสนับสนุนเงินกู้ดอกเบี่ยต่ำพิเศษหรือมีเงื่อนไขพิเศษในการให้เงิน เพื่อให้คนแต่ละชาติเปิดร้านอาหาร ร้านขายของของชาตินั้นๆ เพื่อนำสินค้าของประเทศนั้นมาออกขายในยุโรป
ขณะนี้เห็นมีเพียงการทำโฆษณาบนสื่อ (ที่ไม่ได้ค่อยมี Impact) และการฝึกอบรบตัดผม ทำกับข้าว เอารำไทยมาแสดง ซึ่งเป็นการสร้างระบบแบบชั่วครั้งคราวและผลลัพธ์ในพื้นที่ขนาดเล็กเท่านั้น
ประเทศไทยจะมีการส่งเสริมการลงทุนนอกประเทศเพียงไหน ที่จะสร้างและขยายสายส่งในการจำหน่ายและสนับสนุนสิ้นค้าจากไทยได้ไหม
ธุรกิจภาคยุโปรจากคนไทย
ผลักดันธุรกิจภาคยุโปรจากคนไทย ทางก้าวไกล มีแผนที่จะพัฒนาธุรกิจเชิงรุกในต่างประเทศไหม โดยผลักดันส่งเสริม กลุ่มคนไทยที่มีความสามารถให้ทำธุรกิจในแต่ประเทศนั้นๆได้โดย มีฐานสินค้าหรือแรงงานด้านความสามารถทางเทคโนโลยี หรือ อุตสาหกรรม จากไทย
ยกตัวอย่าง SHEIN ด้านแฟชั่นเสื้อผ้าของจีนหรือ VinFast ของเวียดนามด้านอุตสาหกรรม ยานยนต์
ดึงดูดคนมีความสามารถ
จะดึงดูดให้คนไทยกลับไปทำงานพัฒนาประเทศอย่างไร คำถามจริงๆ คือ จะดึงดูดคนมีความสามารถ ไม่ว่าจะชาติใด มาทำงานในไทยอย่างไร (ดู Singapore มีคนต่างชาติเก่งๆ ไปทำงานมากมาย) 
Others
ฝากบอกว่า สส. ก้าวไกล และพิธา ช่วยลด ขยะ อย่าถือพวกแก้วพลาสติก ออกสื่อ เห็นแล้วขัดตา
ฝากเชิญมาจัดกิจกรรมหัวข้อรัฐสวัสดิการที่เดนมาร์กค่ะ ขอแบบชุดใหญ่ไฟกระพริบเลยนะคะ
Challenge1. ทะเล (แบบทะเล ไม่ใช่สมาคม) กับประชาธิปไตย เกี่ยวข้องกันยังไง ให้นึก 30 วิ2. มีคำกล่าวว่า ไปทะเล ไม่หนีร้อนก็หนีรัก คุณ… ไปทะเลเพราะ?
คนไทยในต่างแดนที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญมีเยอะแยะ อยากให้รัฐบาลเปิดโอกาสหรือสร้างเวทีรับฟังบ้างก็ดีฮะ จะได้ไม่ต้องมาดูงานบ่อย ๆ เปลืองงบ แค่ Zoom ถาม พวกเราก็พร้อมให้ข้อมูลอยู่แล้ว
คิดเห็นอย่างไรกับวาทกรรมประเทศไม่ใช่ sandbox ที่จะมาทดลองนโยบาย
ฝากๆ ให้รีบจัดตั้งรัฐบาล ตั้งสสร. อยากลงประชามติใจจะขาดแล้ว
อยากรู้ว่ากก.จะคุมอว.เองไหม เพราะถ้าปล่อยให้พท.ทำรับรองว่าเละ 😅 ส่วนสาธรณสุขไม่ค่อยรู้ ที่มาเรียนเห็นๆมีแต่สลิ่ม 
ฝากถามพี่แบงค์ว่าพี่บอสมีแฟนรึยังด้วยค่ะ 555555