จับตาเลือกตั้ง – Election Watch

สมาคมทะเลขอขอบคุณ สมาชิก ผู้สนับสนุน ผู้ส่งข้อมูล ผู้ร่วมโหวต ทุกๆท่านที่ทำให้การส่งเสียง และการตรวจสอบภาคประชาชนในต่างประเทศ ตั้งแต่ช่วงก่อนเลือกตั้งจนถึงวันนี้ #เลือกตั้ง66 มันก่อเกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นแล้ว 🎊

เราได้รับข้อมูลจากสมาชิก เพื่อแนะนำ ปรับปรุงแก้ไข้การดำเนินการเลืองตั้งในคราวต่อๆไป ซึ่งสามารถสรุปมาได้ดังนี้

ปัญหาจากการเลือกตั้ง

ข้อมูลส่วนตัวหลุด

มีการเผยแพร่บัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง โดยสถานทูตไทยในรูปแบบ PDF ให้โหลดได้ทั่วไป เช่น สิงคโปร์, วอชิงตันดีซี, บัวโนสไอเรส, โตเกียว, โคเปนเฮเกน, แคนเบอรา, สต็อกโฮล์ม
การเผยแพร่รายชื่อผ่านอินเทอร์เน็ต จะสามารถถูกค้นเจอ และบันทึกจากบุคคลที่สามได้ง่าย
หลังมีคนทักท้วง บางสถานทูตได้แก้ไข และลบออกบางส่วนแล้ว แต่ยังสามารถโหลดดูบ้าง

นอกจากนี้ การเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคลทีสามารถระบุตัวตนได้ มีความเสียงที่จะละเมิด GDPR (General Data Protection Regulation) คือกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งมีผลบังคับใช้ในทุกประเทศใน EU และเป็นกฎหมายที่มีความเข้มงวดในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งาน
การเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลนั้นถือเป็นการละเมิด GDPR และอาจต้องรับโทษตามกฎหมายที่กำหนดไว้ เช่น ต้องชดใช้ค่าเสียหายตามที่เจ้าของข้อมูลเสียไปด้วย

ดังนั้น หากมีการเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งานโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล นั้นจะมีผลต่อผู้ใช้งานเป็นอย่างมาก ซึ่งเราต้องปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของเราอย่างเข้มงวด และไม่ควรเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลดังกล่าว ให้ปฏิบัติตามกฎหมาย GDPR อย่างเคร่งครัดเสมอ

ในกรณีที่สถานทูตต้องการตรวจสอบสิทธิของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง การใช้งานช่องทางอื่นเช่น อีเมลหรือใช้บริการจากกรมการปกครอง เป็นวิธีที่เหมาะสมและปลอดภัยกว่าการเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง โดยไม่ต้องเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของผู้มีสิทธิเลือกตั้งให้แก่สาธารณชนทั่วไป

ลงทะเบียนล่วงหน้ายาก ไม่มีชื่อในประกาศ ระบบล้ม

คนไทยลงทะเบียนเลือกตั้งนอกประเทศน้อยสุดในรอบ 19 ปี สำรวจความเห็นคนไทยในยุโรปอย่างคร่าวๆ ได้ความว่า

– ทำเองไม่ได้ (ต้องการความช่วยเหลือในการลงทะเบียน)

– ไม่อยากให้รัฐบาล/สถานทูต เก็บข้อมูล

– ระบบมันห่วย (บางคนลงทะเบียนถึง 3 ครั้งถึงจะได้)

ระบบล่ม

– ไม่รู้ พอทราบก็เลยเวลาลงทะเบียนแล้ว

– เขาจะมีเลือกตั้งกันจริงหรือ เขาเลือกเอาไว้แล้ว

ส่วนคำแนะนำที่ได้มาคือ

– รัฐบาลและ กกต. ต้องโปรโมทและให้ความสำคัญมากกว่านี้

– อยากให้กระทรวงต่างประเทศ/สถานทูต รณรงค์ให้คนมาลงทะเบียน ในพื้นที่พบปะของคนไทย เช่นวัด หรือ ตลาด/อาหารไทย

– เปิดลงทะเบียนให้ยาวกว่านี้หน่อย สั้นและกระชั้นชิดเกินไป

– มีทางเลือกอื่นในการลงทะเบียน

“มีคนรู้จักติดต่อมาหลังไมค์ตลอดเรื่องไม่มีชื่อ ลงไม่ทัน”
“เว็บไซต์ลงทะเบียนก็ล่มวันสุดท้าย คนรู้จักบ่นกันเพียบ”
การลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้าของประเทศไทย เป็นการให้สิทธิ์แก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ไม่สามารถไปใช้สิทธิ์ในวันเลือกตั้งได้
ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถตรวจสอบรายชื่อของตนเองได้ผ่านทางเว็บไซต์ของกรมการปกครอง

หากพบว่าไม่มีชื่อในรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง หรือลงไม่ทัน ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะไม่สามารถใช้สิทธิ์ในการเลือกตั้งได้ ยกเว้นกรณีที่มีหลักฐานแสดงว่าเคยลงทะเบียนไว้แล้ว หรือมีคำสั่งของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้มีสิทธิเลือกตั้งควรตรวจสอบข้อมูลของตนเองให้ถูกต้องและครบถ้วน เพื่อป้องกันปัญหาในการใช้สิทธิ์ในการเลือกตั้ง
https://boraservices.bora.dopa.go.th/election/enqelection/

ไม่แน่ใจว่าที่กรอกไปสำเร็จไหม

คนจำนวนมากไม่มั่นใจว่า ลงทะเบียนสำเร็จไหม หรือว่ากรอกอะไรผิดหรือป่าว

มีการให้เวปมาภายหลังว่าสามารถตรวจสอบการลงทะเบียนได้ แต่ก็มีคนทราบไม่มากนัก

ตรวจสอบการลงทะเบียนได้ *ใช้เลขบัตรประชาชน

https://stat.bora.dopa.go.th/Election/enqelection

แก้ไขข้อมูลการลงทะเบียน

หลังลงทะเบียน​แล้ว​ ถ้าเกิด​พิมพ์​ผิด​ หรือ​ อยาก​ตรวจสอบ​ข้อมูล​ สามารถ​ใช้​ลิงค์​ลงทะเบียน​​อัน​เดิมนั้น

*กรอก​ข้อมูล​ลง​ทะเบียนอีก​ครั้ง​ เพื่อ​เข้า​ไป​ ตรวจสอบ​และ​แก้ไข​ข้อมูล​ได้​

https://stat.bora.dopa.go.th/Election/popout

เอกสารแนะนำวิธีใช้สิทธิ อ่านไม่เข้าใจ (เลย)

เอกสารแนะนำวิธีใช้สิทธิเลือกตั้ง ล่วงหน้าของสถานทูตไทยที่เดนมาร์ก คนอ่านแล้วทำต่อไม่ค่อยถูก หลังไมค์มาเยอะ ปวดหัวเลย 😑

หากทำไม่ถูกโปรตติดต่อ อีเมล์ หรือ เบอร์สถานทูต ที่ให้ไว้ในเอกสารหรือ Facebook Royal Thai Embassy, Copenhagen

อันนี้ดี

เราขอชื่นชมการทำเอกสารเลือกตั้ง ของสถานทูตไทยในเยอรมนี ทำเป็นภาพประกอบ มีขั้นตอนให้เข้าใจง่าย (เมื่อเทียบกับสถานทูตอื่น)

แต่ทำไมของแต่ละชาติมีการนำเสนอเอกสารแตกต่างกันออกไปพอสมควร?

เอกสารข้อมูลไม่ตรงกัน

เราพบเอกสารเลือกตั้ง จากสถานทูตไทยในเยอรมัน แจ้งให้ใช้หมึก “น้ำเงิน” และ “ดำ” ในการกากบาท ส่วนเดนมาร์กและบางประเทศ ไม่ได้ระบุ ส่วนในฟัง กกต. ยังไม่ได้ระบุข้อมูลส่วนนี้ในการเลือกตั้งปีนี้

รบกวนช่วยพิจารณาเปรียเทียบให้ด้วยนะ Royal Thai Embassy, Berlin

แจ้งข้อมูลกลับมาไม่ชัดเจน

“สถานที่เลือกตั้ง ณ สถานทูต…. ประเทศ…”
แต่ตอนหนูเช็คสิทธิ มันขึ้นมาเลือกทางไปรษณีย์
หลายคนสับสนมากว่า ลงทะเบียนเลือกตั้งทางไปรษณีย์ แต่ดันให้ลงไปลงคะแนนที่สถานทูต
ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นเพียงการแจ้งว่า จดหมายที่ลงคะแนนเสียงต้องส่งไปที่ใด
เหตุการณ์นี้ จำเป็นที่จะต้องเชื่อมต่อข้อมูลของกรมการปกครองและวิธีการจัดการเลือกตั้งในแต่ละประเทศ และแจ้งข้อมูลไปยังผุ้ลงทะเบียนให้ถุกต้องและแม่นยำในหนเดียว เพื่อป้องกันการสับสน

เอกสารเลือกตั้งถูกตีกลับ

เราได้รับรายงานว่า เอกสารเลือกตั้งที่ถูกตีกลับจากไปรษณีย์เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในฝรั่งเศส แต่เราไม่รู้วิธีติดตาม

บัตรเลือกตั้ง อยู่ที่ไหน? ตามอย่างไร? ชี้แจงอย่างไร?

ประกาศโดยใช้เฟสบุ๊คเป็นหลัก

ที่สังเกตสถานทูตส่วนใหญ่ประกาศโดยใช้เฟสบุ๊ค เป็นช่องทางหลัก ซึ่งบางคนไม่ใช้ Facebook
บางคนไม่เห็นเพราะอัลกอริทึมบ้าง ไม่ได้ตามเพจสถานทูตบ้าง ไม่ได้ตามข่าวเมืองไทยอยู่แล้วบ้าง คนไทยต่างแดนจึงไม่ได้ลงทะเบียนหรือลงไม่ทัน

สถานทูตควรมีฐานข้อมูลคนไทยในต่างแดนที่ปลอดภัย และอัพเดทบ่อยๆ ไม่อย่างนั้นจะติดต่อกันลำบาก หวังว่าหลังจากเลือกตั้งแล้ว สถานทูตจะมีการแก้ไขในจุดนี้

กรอกเอกสารผิด

กา “กากบาท” ส่งบัตรเลือกตั้งไปแล้ว

– ลืมเซ็นรับรองสำเนาถูกต้องลงไป

– ลืมแนบบัตรประชาชนลงไป

บัตรเสียไหม? บัตรไม่เสีย แต่ให้รีบติดต่อสถานทูตเพื่อยืนยันตัวตน

แต่ละประเทศ หมดเขตเลือกตั้งไม่เหมือนกัน

คนไทย ในยุโรปและหลายประเทศเริ่มได้รับบัตรเลือกตั้งผ่านทางไปรษณีย์กันแล้วราว 22 เมย

โดยเฉลี่ยจะหมดเขตส่งบัตรเลือกตั้งกลับราววันที่ 3 พ.ค. แต่บางประเทศอาจเร็วกว่านี้

ในทางที่ดีที่สุดพวกเราควรส่งบัตรเลือกตั้งกลับโดยทันที

ต้องเดินทางไปเลือกตั้งต่างเมือง

ผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน เนเธอแลนด์ ต้องเดินทางกันหน่อยนะ ไม่มีเลือกตั้งทางไปรษณีย์

ทั้งประเทศมีแค่ 2 คูหา เปิดคูหาละวัน 10 – 15:00 เท่านั้น สู้ๆ

ช้า ลุ้นจนนาทีสุดท้าย ต้องดิ้นรนเอง

เอกสารเลือกตั้งในหลายที่ มาถึงวันสุดท้ายที่ต้องส่งกลับ หรือมาถึงแล้วยังไงก็ส่งกลับไม่ทัน ต้องดิ้นรนกันเอง

ฟินแลนด์

“บัตรเลือกตั้งเพิ่งมา เอาไปส่งไปรษณีย์แล้วครับ คงไม่ทันเพราะถึงจ่ายเงินเพิ่มเอง 15€ ส่งด่วนก็ยังต้องลุ้น วันจันทร์มาติดวันแรงงานอีก ท่าจะหมดหวัง”

“ต้องโทษสถานทูตที่ช้า ตอนแรกว่าจะควักเงินจ่ายส่งด่วน แต่เค้าว่าจะเสียเงินฟรี เลยส่งที่เค้าติดแสตมป์มาให้

วันจันทร์มาติดวันแรงงานอีก ท่าจะหมดหวังติดสติ๊กเกอร์ให้ดำเนินการทันที ก็ทำทันทีเลยแล้วให้สามีเอาไปส่งที่ทำการไปรษณีย์แต่เค้าว่าต้องลุ้นสุดตัว ถ้าไม่ติดงานนะ จะนั่งรถไฟเข้าเฮลซิงกิเอาไปให้ที่สถานทูต”

บัตรเลือกตั้ง ใน Finnland ต้องถึงสถานทูต 2 พค.

สถานทูตประกาศจะมีการส่งบัตรเลือกตั้ง รอบ 2

ฝรั่งเศส

ได้รับแจ้งว่าใน ฝรังเศส เอกสารล่าช้า และมีจำนวนมากที่ไม่ได้รับ

คุณยังสามารถไปส่งโดยตรงที่สถานทูตไทยที่ปารีสได้ ไม่งั้นบัตรจะเป็นโมฆะ!

บัตรเลือกตั้งต้องมาถึงภายในวันนี้ 2 พค.

ล่าช้า เลือกตั้งไม่ทัน เป็นโมฆะ และยังต้องแจ้งเหตุอีก !

แม้จะมีบางคนได้รับเอกสารล่าช้า

แต่หากบัตรเลือกตั้งของคุณส่งมาถึงช้ากว่ากำหนด บัตรเลือกตั้งจะเป็นโมฆะ

และต้องอาจเปลี่ยนไปกรอกฟอร์มแจ้งเหตุไม่ใช้สิทธิแทน

สำหรับคนไทยในเดนมาร์ก สหราขอาณาจักร และไอร์แลนด์ บัตรเลือกตั้งต้องมาถึงภายในวันนี้ 1 พค.

บัตรส่วนเกินมาจากไหน?

เดนมาร์กพร้อมส่งบัตรกลับไทยแต่ *มีคนสงสัย “จำนวนผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนมีทั้งสิ้น 1,085 คน แต่มีบัตร 1,160 ใบ ส่วนต่างมาจากไหนหรือครับ”

– จัดการบัตรส่วนเกินอย่างไร

– ทำอย่างไรให้โปร่งใส

ผู้ปฏิบัติงานเหนื่อย

การส่งข้อมูลที่ล่าช้า กระทันหัน และไม่ครบถ้วน ส่งผลให้คนทำหน้าที่จัดการหน้างานต้องแบกรับภาระที่ต้องจัดเตรียมเลือกตั้งให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยความลำบาก
ปัญหาเชิงโครงสร้างในการบริหารจัดการระบบราชการ เป็นกรอบและข้อจำกัดในการพัฒนาศักยภาพในการจัดการเลือกตั้งครั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นระบบข้อมูลพื้นฐาน การเตรียมงานทั้งในกรอบเวลา กฎหมายและนโยบาย ที่ไม่ได้ส่งเสริมให้มีการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

เราสนับสนุนให้การแก้ปัญหาระบบโดยพิจารณาที่โครงสร้างของปัญหา และปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหา
เราเป็นกำลังใจและส่งแรงบันดาลใจให้กับผู้ปฏิบัติงานที่ต้องเตรียมตัวเพื่อการเลือกตั้งในขณะนี้ โดยเข้าใจและยอมรับว่าทุกคนมีทรัพยากรและแง่มุมการดำเนินงานที่แตกต่างกันไป อย่างไรก็ตามทุกคนก็พยายามทำงานอย่างมืออาชีพให้สำเร็จลุล่วงตามความสามารถของตนเอง และอาจต้องพยายามทำงานในระยะเวลาที่จำกัด ผู้ปฏิบัติงานทุกคนควรได้รับการเป็นกำลังใจและสนับสนุนในการทำงานของตนเอง เพื่อให้สามารถประสบความสำเร็จในการเตรียมตัวเพื่อการเลือกตั้งได้อย่างเต็มที่

ยืนยันการได้รับบัตรเลือกตั้ง ดี!

อันนี้ดี สถานทูตมียืนยันการได้รับบัตรเลือกตั้งจากประชาชนกลับไปแล้ว แต่เท่าที่รู้มีแค่เดนมาร์กที่เดียว

บัตรเลือกตั้งเราไปถึงสถานทูตแล้ว จะมีการยืนยันทางอีเมล์ อย่างน้อยก็มั่นใจ(ระดับหนึ่ง)ว่าไม่หายไปกลางทาง

ขอบคุณ Royal Thai Embassy, Copenhagen สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโคเปนเฮเกน

เพิ่มเติม

สำหรับผู้สนใจติดต่อสอบถามเพิ่มเติมกับสถานทูตไทยในต่างประเทศ สามารถหาข้อมูลที่เว็บไซต์ของกระทรวงการต่างประเทศได้ที่ https://www.mfa.go.th/th/embassy-consulate/list
รายละเอียดข้อมูลส่วนบุคคลที่หลุดไปจากกรณีสถานทูตไทยบางแห่ง เผยแพร่ PDF รายชื่อผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง สามารถติดตามได้ตามโพสต์นี้ https://www.facebook.com/arthit/posts/pfbid02nDhtpEfx7N3AQoDZrbCQjaZqPNhULbTxXf4hNXLPGWVpZweYNwy9MYB97ET2BKp4l

ส่งเสียงจากต่างแดน

ไม่มีโพลของคนไทยนอกประเทศ เราเลยขอส่งเสียงโดยรวบรวมความคิดเห็นและโพลจากคนไทยนอกประเทศให้

คนไทยทั่วโลกสามารถร่วมโหวตเพื่อทำโพลเลือกตั้งกับสมาคมทะเล และดูผลได้ทันที

• “อยากให้” พรรคไหนเป็นรัฐบาล”

• “ไม่อยากให้” พรรคไหนเป็นรัฐบาล

• นโยบายนอกประเทศไทย ที่อยากได้

ช่วยเหลือในการลงทะเบียน

สมาชิกสมาคมได้ออกไปช่วยสถานทูตเพื่อให้ข้อมูลและช่วยเหลือประชาชนในการลงทะเบียนเลือกตั้ง

“เลือกตั้งในต่างประเทศ” และ “คณิตศาสตร์การเลือกตั้ง”

อาทิตย์ที่ 2 เมษา ที่ Copenhagen

– กลไกการเลือกตั้ง

– การลงคะแนนในต่างประเทศ

– ใครต้องการให้ช่วยเหลือเรื่องลงทะเบียน (ให้นำบัตรประชาชน/พาสปอร์ตมาด้วย)

แลกเปลี่ยนประสบการณ์ลงทะเบียน

สมาคมได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ลงทะเบียนกับประชาชนที่ลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรทางอินเทอร์เน็ต และถ่ายทอดออกมาเพื่อเป็นประโยชน์กับท่านอื่นๆ

“อย่า​ให้โครพรากเสียงของ​เรา​ไป”

📝 หลายคนมาเจอว่าข้อมูลที่กรอกไม่พร้อม

หากเป็นวันสุดท้ายแล้ว

จะหาเพิ่มก็ไม่ทันแล้ว

*ฉะนั้นรีบ​ทำ​เลยนะ เพราะมี​เวลา​สองอาทิตย์​ถึง​ 09.04.2023

📝การเตรียม​ข้อมูล​

• บัตรประชาชน​ (หมดอายุก็ได้)

• พาสปอร์ต ที่ไม่หมดอายุ

หลายคนมาเจอวันท้ายๆว่า พาสปอร์ตหมดอายุแล้ว จะแก้ไขไม่ทัน

*หากบัตรประชาชน​ หรือ พาสปอร์ต หมดอายุให้รีบติดต่อสถานทูต เพื่อหาทางแก้ไขให้ทันเวลา

📝การเข้าระบบ

ระบบ​มัน​ห่วยครับ

ถ้า​กรอก​ข้อมูล​แล้ว​กด​ตกลง​ตอน​ท้าย​แล้ว​ระบบ​มันแจ้ง​ว่า​ผิด​พลาด​

*อย่า​ยอม​แพ้​ พยายาม​ลอง​กรอก​ข้อมูล​ใหม่

ประสบการณ์จากทางบ้าน​วันนี้​ลอง​อยู่​สาม​ครั้ง​

📝 ข้อผิดพลาด

อย่าง​ที่​บอกแล้ว​ว่า​ระบบ​มันห่วย​ ถ้า​ใครเจอ​ว่า​ ข้อมูล​ผิด

*ให้​เช็ค​ว่า​ ไม่มี​ช่องว่าง​ข้างหลัง​ชื่อ​และช่องนามสกุล​ ภาษาไทย​

และ​ต้องกด​แป้น​ ตกลง/enter ที่​ keyboard ด้วย เพื่อให้​มันกระโดด​ไป​ช่อง​ต่อไป

📝 ทำบนคอมพิวเตอร์ หรือ มือถือดี

ลงทะเบียน​ในมือถือ​ ง่าย​สุด​

*ถ้า​ทำใน​คอม บางเครื่องต้อง​ติด​ตั้ง​ Java เพิ่ม

📝แก้ไขข้อมูล

หลังลงทะเบียน​แล้ว​ ถ้าเกิด​พิมพ์​ผิด​ หรือ​ อยาก​ตรวจสอบ​ข้อมูล​ สามารถ​ใช้​ลิงค์​ลงทะเบียน​​อัน​เดิมนั้น

*กรอก​ข้อมูล​ลง​ทะเบียนอีก​ครั้ง​ เพื่อ​เข้า​ไป​ ตรวจสอบ​และ​แก้ไข​ข้อมูล​ได้

ช่วยกันคุ้มครองคะแนนเสียของพวกเรา

หากเราต้องการช่วยเหลือให้การเลือกตั้งให้ถูกต้องและโปร่งใส แต่ไม่ได้อยู่ในไทยจะทำอย่างไร?

อย่าลืมว่า มันก็มีข้อดีอีกส่วนหนึ่ง คือคนกลุ่มนี้ยัง Active อยู่ในช่วงเวลาที่คนไทย กำลังเริ่มเข้านอนกันแล้วหลังผลเลือกตั้งเริ่มทยอยออกมา

1. ลุ้นผลและช่วยกันตรวจสอบคะแนน : ร่วมกับคนไทยในไอร์แลนด์ในวันที่ 16 พค. ผ่านระบบออนไลน์ Vote62 https://vote62.comโดยมีอาสาสมัครประจำหน้าหน่วยเลือกตั้งสังเกตการนับคะแนนและอัปโหลดรูปกระดานนับคะแนนที่นับเสร็จแล้วเพื่อให้คนไทยไกลบ้านมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการเลือกตั้ง

มีอบรบวิธีช่วยตรวจนับ ผ่านทาง Zoom ก่อนลงมือทำจริงด้วย โดยรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถเข้าไปดูในโพสต์นี้ได้

2. เผยแพร่ข้อมูลที่มีคุณภาพ: คุณสามารถเผยแพร่ข้อมูลที่มีคุณภาพและเป็นประโยชน์ต่อคนไทยที่อยู่ในประเทศหรือต่างประเทศได้ เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับผู้สมัครรับเลือกตั้ง แผนการเมือง และนโยบายต่างๆ ของพรรคการเมือง

3. ช่วยเหลือในการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล: คุณสามารถช่วยเหลือในการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกตั้งโดยใช้ทักษะและเครื่องมือต่างๆ เช่น การตรวจสอบข่าวสารปลอม

ให้ความเห็นบนสื่อนานาชาติ

Shinny Pimlapas Leekitcharoenphon สมาชิกของเราบนรายการ FRANCE 24 ได้รับเชิญเพื่อแสดงความคิดเห็นหลังทราบผลการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎร

Keine Fotobeschreibung verfügbar.