ปลดล๊อกค้าประเวณีถูกกฎหมาย เยอรมัน – ไทย : ดี หรือ แย่

โดย ชาย วีรพล

ค้าประเวณีถูกกฎหมาย? มุมมองเยอรมัน-ไทย จะดีหรือแย่ กับคำถามโดนๆจากสำนักข่าวเยอรมัน ชาติที่มีประสบการณ์เรื่องนี้มาก่อน

อยากชวนอ่าน

การสัมภาษณ์ของนักข่าว SPIEGEL สื่อของเยอรมัน ประเทศที่การค้าประเวณีถูกกฎหมาย กับ ทาทา ศิริ นิลพฤกษ์ นักเคลื่อนไหวชาวไทย ได้เน้นถึงประเด็นที่เกี่ยวกับการทำให้การค้าประเวณีถูกกฎหมายในประเทศไทย และแสดงให้เห็นถึงเหตุผลและความท้าทายที่เกี่ยวข้องกับความพยายามนี้

เรามาลองดูส่วนหนึ่งของการสนทนาระหว่างเยอรมันและไทยในประเด็นนี้กัน และมาดูว่าอะไรคือความท้าท้ายของทั้ง 2 ชาติ

บทสนทนา

บทสนทนานี้ถอดความมาจากสื่อ Der Spiegel ของเยอรมนี:
Prostitution in Thailand : Sexarbeit ist Arbeit (การค้าประเวณีในประเทศไทย: งานบริการทางเพศก็คืองาน)

ในบทสัมภาษณ์กับนักข่าวจาก Der Spiegel สื่อของเยอรมัน ทาทา ศิริ นิลพฤกษ์ นักเคลื่อนไหวชาวไทย ได้รับคำถามเกี่ยวกับการยอมรับ “การค้าประเวณีให้ถูกกฎหมาย” ในประเทศไทย แม้ว่าจะมีการให้บริการทางเพศยังแพร่หลายในไทย เรื่องเหล่านี้ก็ยังคงผิดกฎหมาย ทาทาเพิ่งยื่นข้อเสนอแก้ไขกฎหมายต่อรัฐสภา โดยได้รวบรวมลายเซ็นกว่า 14,000 ฉบับเพื่อสนับสนุนการเลิกทำให้การค้าประเวณีเป็นอาชญากรรม

นักข่าวถามทาทาว่าทำไมเธอถึงต่อสู้เพื่อสิ่งนี้

เราต่อสู้เพื่อให้การค้าประเวณีได้รับการยอมรับและได้รับการจ่ายค่าตอบแทนอย่างเหมาะสมเหมือนกับอาชีพอื่นๆ กฎหมายปัจจุบันไม่เหมาะสมอีกต่อไป แม้การค้าประเวณีแพร่หลายทั่วประเทศ แต่กฎหมายยังคงทำให้ผู้ค้าประเวณีไม่ได้รับการคุ้มครองเมื่อพวกเขาเผชิญกับความรุนแรง


นักข่าวตั้งข้อสังเกตว่า ผู้ค้าประเวณีไม่สามารถไปหาตำรวจได้เมื่อเกิดการละเมิดกับผู้ทำงาน เพราะพวกเขาไม่ได้ทำงานที่ถูกกฎหมาย

ทาทาเห็นด้วยและชี้ให้เห็นว่า กฎหมายปัจจุบันกลับปกป้องลูกค้าแทนที่จะปกป้องผู้ค้าประเวณี พวกเขาต้องเผชิญกับความรุนแรง ความยากจน และการเลือกปฏิบัติโดยไม่มีการคุ้มครองทางการแพทย์หรือทางด้านสังคม


นักข่าวยังตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับรายงานของตำรวจในพัทยาและกรุงเทพฯ ที่ระบุว่า “ไม่พบหลักฐานเกี่ยวกับการค้าประเวณี” ในขณะที่ตัวเลขชี้ชัดว่ามีผู้ที่ทำงานทางเพศมากกว่า 300,000 คนในประเทศไทย และรายได้จากการค้าประเวณีมีมากกว่า 6 พันล้านยูโรต่อปี ทำไมเราถึงมองข้ามเรื่องนี้

ทาทาจึงอธิบายว่ามีการประมาณการใหม่ที่บอกว่ามีผู้คนถึงหนึ่งล้านคนที่หาเงินจากการค้าประเวณีในประเทศไทย อาชีพนี้สร้างรายได้สำคัญให้กับประเทศ รัฐบาลยังคงมองว่าการค้าประเวณีเป็นสิ่งเลวร้ายเป็นปัญหา แต่ก็อย่าลืมว่า ยังมีการทุจริตในวงการตำรวจที่ทำให้ผู้ค้าประเวณีต้องจ่ายเงินเพื่อทำงานได้


นักข่าวกล่าวถึง การทำให้การค้าประเวณีถูกกฎหมายอาจไม่ได้ลดการค้ามนุษย์หรืออาชญกรรมลง อาตกลับเพิ่มขึ้นด้วย โดยยกตัวอย่างการปฏิรูปกฎหมายในเยอรมันปี 2002 ก็มีการถกเถียงกันว่า มีการควบคุมที่ยากขึ้น จริงๆแล้วมันจะช่วยเหลือผู้ทำงานได้จริงไหม

ทาทาจึงเล่าต่อว่า การทำให้การค้าประเวณีถูกกฎหมายจะช่วยให้เหยื่อของการค้ามนุษย์กล้าที่จะรายงานอาชญากรรมมากขึ้น เพราะพวกเขาจะไม่กลัวว่าจะถูกดำเนินคดี การเปลี่ยนแปลงกฎหมายต้องมาพร้อมกับการบังคับใช้ที่เข้มงวด เพื่อให้อาชญกรรมลดลง


สุดท้าย นักข่าวเอ่ยถึงประเทศไทยที่เพิ่งอนุญาตให้คู่รักเพศเดียวกันแต่งงานได้ นักข่าวถามถึงความพร้อมของสังคมไทยในการทำให้การค้าประเวณีถูกกฎหมาย

ทาทาเล่าเรื่องด้วยความมุ่งมั่นว่า “กฎหมายเก่าๆ ที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนต้องหายไป” แต่การค้าประเวณีถูกกฎหมายคงต้องใช้เวลา ประเทศไทยยังอนุรักษ์นิยม การค้าประเวณีถูกบีบมาโดยศาสนาและการเมือง คงต้องต่อสู้ต่อไป และให้การศึกษาแก่ผู้คนและเจ้าหน้าที่เพื่อเริ่มเปลี่ยนแปลงสังคมนี้

ผู้ทำไปแล้ว และ ผู้กำลังขับเคลื่อน

บทสัมภาษณ์จากนักข่าว SPIEGEL และ ทาทา ศิริ นิลพฤกษ์ สะท้อนให้เห็นถึงความซับซ้อนของประเด็นการค้าประเวณีในประเทศไทย เยอรมนีเองก็มีประสบการณ์ที่ให้การค้าประเวณีถูกกฎหมายมาแล้ว ทั้งสองประเทศจึงมีมุมมองที่น่าสนใจและสามารถเรียนรู้จากกันและกัน

ผู้ทำไปแล้ว: เยอรมนี

  • การเปิดกว้างทางกฎหมาย: เยอรมนีเป็นหนึ่งในประเทศที่กล้าตัดสินใจทำให้การค้าประเวณีถูกกฎหมายและมีกฎหมายรองรับอย่างชัดเจน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้ประกอบอาชีพนี้ และควบคุมปัญหาที่เกิดขึ้นจากการค้าประเวณีที่ผิดกฎหมาย เช่น การค้ามนุษย์ การแพร่ระบาดของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • การปรับกฎหมายคุ้มครอง: นอกจากการทำให้ถูกกฎหมายแล้ว เยอรมนียังมีการปรับปรุงกฎหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้ประกอบอาชีพค้าประเวณีอย่างจริงจัง เช่น การให้สิทธิในการทำสัญญาจ้างงาน การเข้าถึงบริการสุขภาพ และการได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมายเมื่อเกิดปัญหา
  • การเปลี่ยนแปลง: การทำให้การค้าประเวณีถูกกฎหมายในเยอรมนีส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายประการ เช่น
    • การลดลงของอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับการค้าประเวณี: เนื่องจากมีการควบคุมและกำกับดูแลอย่างเป็นระบบ
    • การเพิ่มขึ้นของรายได้ภาษี: จากการเก็บภาษีจากธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการค้าประเวณี
    • การปรับปรุงสภาพการทำงานของผู้ประกอบอาชีพ: ผู้ประกอบอาชีพมีสิทธิและความปลอดภัยมากขึ้น
    • การเกิดการถกเถียงและความเห็นที่แตกต่าง: เกิดขึ้นทั้งในแง่บวกและแง่ลบ
    • การควบคุมและป้องกันการค้ามนุษย์: บ่อยครั้งที่การกล่าวอ้างว่า การทำให้การค้าประเวณีถูกกฎหมายไม่ได้ลดการค้ามนุษย์ลง แต่กลับเพิ่มขึ้นในทางตรงกันข้าม (จะกล่าวในหัวข้อถัดไป)

ผู้กำลังขับเคลื่อน: ประเทศไทย

  • การเคลื่อนไหวของกลุ่มนักเคลื่อนไหว: แม้จะมีอุปสรรค แต่ก็มีกลุ่มนักเคลื่อนไหวที่ทำงานเพื่อให้การค้าประเวณีได้รับการยอมรับและมีกฎหมายคุ้มครอง อย่าง ทาทา ศิริ นิลพฤกษ์ จากกลุ่มเฟมินิสต์ปลดแอก มูลนิธิเพื่อนพนักงานบริการ และยังมีกลุ่มเรียกร้องความเท่าเทียมอีกหลายกลุ่มที่เคลื่อนไหวอยู่ในขณะนี้
  • ความท้าทายทางวัฒนธรรมและศาสนา: ประเทศไทยมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและศาสนา โดยเฉพาะพุทธศาสนาที่ให้ความสำคัญกับศีลธรรมและความบริสุทธิ์ ทำให้การพูดคุยเรื่องการค้าประเวณีเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและอาจขัดแย้งกับความเชื่อของคนส่วนใหญ่
  • ความกังวลเรื่องภาพลักษณ์ของประเทศ: คนจำนวนมากมองว่า การทำให้การค้าประเวณีถูกกฎหมายอาจส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศในสายตานานาชาติ โดยเฉพาะในด้านการท่องเที่ยว
  • ความยากลำบากในการบังคับใช้กฎหมาย: การบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการค้าประเวณีอาจเป็นเรื่องยาก เนื่องจากมีการทุจริตคอร์รัปชัน และมีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับการค้าประเวณีที่แข็งแกร่ง

การปฏิรูปกฎหมาย ค้าประเวณี ในเยอรมันปี 2002

ในมุมตรงกันข้ามกับการสร้างเสรีภาพและการคุ้มครอง ก็มักจะมีมุมมองด้านลบที่ถูกพูดถึงขึ้นอยู่เสมอ

การทำให้การค้าประเวณีถูกกฎหมายในเยอรมนีในปี 2002 เป็นกรณีศึกษาที่สำคัญในการถกเถียงเรื่องผลกระทบของกฎหมายเหล่านี้ต่อการค้ามนุษย์ แม้ว่าจุดประสงค์ของการปฏิรูปนี้คือการปกป้องผู้ค้าประเวณีจากการแสวงหาผลประโยชน์และปรับปรุงสภาพการทำงาน แต่ผลลัพธ์กลับมีทั้งด้านบวกและด้านลบ

หนึ่งในข้อวิจารณ์หลักคือการทำให้ถูกกฎหมาย ทำให้การค้ามนุษย์เพิ่มขึ้น รายงานระบุว่าจำนวนผู้ค้าประเวณีในเยอรมนีเพิ่มขึ้นมาก โดยประมาณว่ามีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า และมีจำนวนกรณีการค้ามนุษย์เพิ่มขึ้นอย่างมาก อลิซ ชวาร์เซอร์ นักสตรีนิยมที่มีชื่อเสียง กล่าวว่า เสรีในเรื่องนี้ทำให้เยอรมนีกลายเป็น “สวรรค์ทางเพศ” สำหรับชาวต่างชาติ และเป็นสาเหตุของการเพิ่มขึ้นของการค้ามนุษย์และการแสวงหาผลประโยชน์ (ดูเพิ่มเติมใน Germany’s legalized sex industry is booming)

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลและมุมมองบางอย่างขัดแย้งกับมุมมองนี้ สถิติของตำรวจจากเยอรมนีระบุว่ากรณีการค้ามนุษย์เพื่อการแสวงหาประโยชน์ทางเพศลดลงหนึ่งในสามระหว่างปี 2001 ถึง 2011 แม้ว่าจำนวนผู้ค้าประเวณีจะเพิ่มขึ้นก็ตาม บ่งชี้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างการทำให้ถูกกฎหมายและการลดลงของการค้ามนุษย์ หรือความสัมพันธ์เหล่านี้แปลเปลี่ยนไปและมีความซับซ้อนมากขึ้นเช่นกัน (ดูเพิ่มเติมใน There is a complex relationship between legalised prostitution and human trafficking)

ผู้สนับสนุนกฎหมายนี้แย้งว่าการทำให้การค้าประเวณีถูกกฎหมายช่วยให้การควบคุมและปกป้องผู้ค้าประเวณีดีขึ้น พวกเขายังชี้ให้เห็นว่าการยกเลิกกฎหมายอาจทำให้การค้าประเวณีถูกผลักดันให้ไปลงใต้ดิน ทำให้ยากต่อการต่อสู้กับการแสวงหาผลประโยชน์และการให้การดูแลสุขภาพและการคุ้มครองทางกฎหมายที่จำเป็นแก่ผู้ค้าประเวณี

ตัวอย่างของเยอรมนีซึ่งมักมีการถกเถียงกันอย่างมากว่ามันช่วยลดหรือเพิ่มการค้ามนุษย์ แสดงให้เห็นถึงผลกระทบที่ซับซ้อนและความต้องการการติดตามผลกระทบอย่างเป็นเป็นระบบ

อย่างไรก็ตามความซับซ้อนนี้ ยังชี้ให้เห็นว่าการทำให้การค้าประเวณีถูกกฎหมายหรือการแบนเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ การควบคุมและการบังคับใช้ที่มีประสิทธิภาพเป็นสิ่งสำคัญในการจัดการปัญหาการแสวงหาผลประโยชน์และการค้ามนุษย์

De Wallen ย่านโคมแดงในใจกลางกรุงอัมสเตอร์ดัม ตั้งอยู่ในส่วนที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของอัมสเตอร์ดัม เป็นที่รู้จักเป็นพิเศษว่าเป็นหนึ่งในพื้นที่แรกๆ ของโลกที่โสเภณีทำงานอย่างถูกกฎหมายและมีการจัดระเบียบ

มองต่อออกไป

เรามาลองวิเคราะห์กันถึงเหตุปัจจัย และความท้ายทายอะไรที่สังคมมาใช้พิจารณาในเรื่องการค้าประเวณีที่ถูกต้องตามกฎหมายในไทย

  1. วัฒนธรรมและศาสนา
    • ความเชื่อทางพุทธศาสนา: แม้พุทธศาสนาจะเน้นความเมตตา แต่ก็มีการตีความที่หลากหลายเกี่ยวกับการค้าประเวณี บางกลุ่มอาจมองว่าเป็นการทำลายศีลธรรม ขณะที่บางกลุ่มอาจมองว่าเป็นการเอาชีวิตรอด
    • ความเชื่อเรื่องความบริสุทธิ์: สังคมไทยยังคงมีความเชื่อเรื่องความบริสุทธิ์ของสตรี ทำให้ผู้ค้าประเวณีถูกตีตราและถูกสังคมกีดกัน
    • บทบาทของสถาบันครอบครัว: ครอบครัวไทยมักให้ความสำคัญกับเกียรติยศและชื่อเสียง การที่สมาชิกในครอบครัวประกอบอาชีพค้าประเวณีอาจส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของครอบครัว
  2. เศรษฐกิจ
    • รายได้ของประเทศ: การค้าประเวณีสร้างรายได้มหาศาลให้กับประเทศไทย การทำให้ถูกกฎหมายอาจนำไปสู่การเก็บภาษีและควบคุมคุณภาพบริการได้มากขึ้น
    • การแข่งขันทางธุรกิจ: การทำให้ถูกกฎหมายอาจเปิดโอกาสให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการค้าประเวณีเติบโตและแข่งขันกันมากขึ้น
    • ผลกระทบต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยว: การค้าประเวณีเป็นปัจจัยหนึ่งที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวบางกลุ่ม การทำให้ถูกกฎหมายอาจส่งผลต่อภาพลักษณ์ของประเทศในสายตานักท่องเที่ยว
  3. ผลต่อผู้ค้าประเวณี
    • การคุ้มครองทางกฎหมาย: การทำให้ถูกกฎหมายจะช่วยให้ผู้ค้าประเวณีได้รับการคุ้มครองจากการถูกเอารัดเอาเปรียบและความรุนแรง
    • การเข้าถึงบริการสาธารณะ: ผู้ค้าประเวณีจะสามารถเข้าถึงบริการสาธารณะต่างๆ เช่น การดูแลสุขภาพ การศึกษา และสวัสดิการสังคมได้อย่างเท่าเทียม
    • การลดความเสี่ยงต่อสุขภาพ: การมีกฎหมายที่ชัดเจนจะช่วยในการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  4. ความท้าทายในการบังคับใช้กฎหมาย
    • การค้ามนุษย์: การทำให้ถูกกฎหมายอาจทำให้การค้ามนุษย์ซับซ้อนมากขึ้น เนื่องจากผู้กระทำผิดอาจแฝงตัวเข้าไปในธุรกิจที่ถูกกฎหมาย
    • การคอร์รัปชัน: การบังคับใช้กฎหมายอาจเผชิญกับปัญหาการคอร์รัปชัน ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญในการปฏิรูปกฎหมาย
    • ความต้านทานจากสังคม: การเปลี่ยนแปลงกฎหมายอาจเผชิญกับความต้านทานจากกลุ่มอนุรักษ์นิยมและกลุ่มศาสนา
      ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม:

ก้าวต่อไป

ในยุคที่โลกเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว การพิจารณาให้การค้าประเวณีถูกกฎหมายในประเทศไทยจึงเป็นประเด็นที่ซับซ้อนและมีมิติที่หลากหลาย ครอบคลุมทั้งด้านกฎหมาย สังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม

“การตัดสินใจ” หรือ “ไม่ตัดสินใจ” ในเรื่องนี้ ก็จะมีผลกระทบต่อทุกภาคส่วนของสังคมไทยด้วยกันทั้งคู่

การเปิดโอกาสรับฟังและให้พื้นที่ในประเด็นนี้ จะนำไปสู่แนวทางแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมและยั่งยืน การทำความเข้าใจถึงเหตุผลที่หลากหลายและผลที่อาจเกิดขึ้น จะช่วยให้สังคมไทยเข้าใจประเด็นนี้กันมากขึ้น โดยไม่ปล่อยให้เรื่องนี้กลายเป็นเงาที่ตามหลอกหลอนสังคมไทยต่อไป

หมายเหตุ

บทวิเคราะห์นี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการค้าประเวณีในประเทศไทย และอาจมีมุมมองอื่นๆ ที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้อีกในหลายมิติ


สื่อ Der Spiegel

เป็นนิตยสารข่าวรายสัปดาห์ที่มีชื่อเสียงและทรงอิทธิพลในเยอรมนี ก่อตั้งขึ้นในปี 1947 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และถือเป็นสื่อที่มีบทบาทสำคัญในการรายงานข่าวและวิเคราะห์ประเด็นทางการเมือง สังคม และเศรษฐกิจ นอกจากนี้ Der Spiegel ยังมีชื่อเสียงด้านการทำข่าวสืบสวนสอบสวนที่ลึกซึ้งและเจาะลึก

อ่านบทความจาก Der Spiegel เพิ่มเติมได้ที่ Prostitution in Thailand : Sexarbeit ist Arbeit (การค้าประเวณีในประเทศไทย: งานบริการทางเพศก็คืองาน)


ผู้ให้สัมภาษณ์กับ Der Spiegel : ทาทา ศิริ นิลพฤกษ์

ทาทา เป็นนักเคลื่อนไหวเพื่อความเท่าเทียมกันทางเพศในประเทศไทย เธอทำงานเพื่อการเลิกทำให้การค้าประเวณีเป็นอาชญากรรมและเคยทำงานเป็นผู้ค้าประเวณีเองกว่า 20 ปี เธอยังเป็นเอ็นจีโอผู้ทำงานมาหลากหลายสาขา ทั้งสิ่งแวดล้อม ตลอดจนสิทธิมนุษยชน เธอเคลื่อนไหวทางการและเมืองในนามเฟมินิสต์ปลดแอก และเป็นทรานส์เจนที่ใช้เรื่องราวของตัวขับเคลื่อนประเด็นทางสังคม


เกี่ยวกับผู้เขียน

ชาย ในระบบโรงเรียน เขาเรียนมาทางด้านวิศวกรรมโยธา มีประสบการณ์ด้านวิชาการเกี่ยวกับน้ำและสภาพอากาศ เขาก้าวเข้าสู่วงการ Startup มีความสนใจในการขับเคลื่อนภาคประชาชน โดยมองผ่านมุมมองด้าน non-technical เช่น ศิลปะ ประวัติศาสตร์ และการเมือง เขายังมีโอกาสคลุกคลีกับศิลปินที่มีความหลากหลายและมุมมองที่แตกต่าง ทำให้เขาได้เรียนรู้และเปิดรับแนวคิดใหม่ๆ เกี่ยวกับโลก

ปัจจุบันเขาทำงานในด้าน IoT และการบริหารจัดการพลังงาน