Challenge ก้าวไกล

พรรคก้าวไกล – Move Forward Party จะมาปราศรัยให้คนไทยในยุโรป https://fb.me/e/KXXPyAPI

สมาคมทะเลประมวลคำถาม/ข้อสงสัยจากเครือข่ายสมาชิก ใน 10 กว่าประเทศในยุโรป เพื่อ Challenge ก้าวไกล ให้ประชากรไทยในต่างประเทศได้มีโอกาสทราบถึงส่วนได้ส่วนเสียในการเลือกตั้งครั้งนี้

Feedback หลังงาน

  • รายการไม่ได้ Live แต่ต้องเข้า Zoom เพื่อบันทึกแล้วไป Live ที่หลัง ทำให้ตัดโอกาสคนไทยในต่างแดนทั่วไป (มีคนบ่นหลายคน) ที่เข้ามามาแลกเปลี่ยนไม่ได้
  • หลายคำถาม ที่ถูกคัดเลือก เป็นเพื่อคนในประเทศ มีราว 30% เท่านั้น ที่เป็นเรื่องของคนต่างประเทศ
  • ก้าวไกลพยายามตอบทุกคำถามให้บางส่วนผ่าน Chat แต่พอปิด Zoom ข้อความหายหมดเลย เราจึงไม่สามารถนำคำตอบจาก Chat ไปเผยแพร่ ให้คนไทยในยุโรปได้

คำถามจากสมาคมทะเล ต่อนโยบาย “พรรคก้าวไกล

สาขาคำถาม
Digitalization 
บทเรียนจากการเลือกตั้งนอกประเทศ
จากการลงพื้นที่ของสมาคมเพื่อช่วยเหลือการลงทะเบียนเลือกตั้ง พบว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งในต่างประเทศมีปัญหามาก (ดู https://thalay.eu/election1)  ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องของ digital transformation เราจะพัฒนาอะไรจากสิ่งนี้ต่อได้บ้าง
(FYI : คนที่พบเจอปัญหาเหล่านี้ ส่วนใหญ่เล่าให้สมาคมฟังว่าสนับสนุนพรรคก้าวไกล)
Social work
คนไทยส่งเงินกลับไทยปีหนึงหลายหมื่นล้านบาท
การดูแลคนไทยในต่างประเทศก็ควรจะทั่วถึง และได้รับการยอมรับเหมือนคนในประเทศ
มีผู้ชายคนนึงบอกสมาชิกสมาคมว่า เวลาเขามีปัญหา ก็ไม่รู้จะคุยกะใคร เพราะองค์กรส่วนใหญ่ก็โฟกัสที่เพศหญิงเป็นหลัก สมาคมบ้านหญิงก็จะเน้นช่วยผู้หญิง
คนไร้บ้านในประเทศพัฒนาแล้ว 
เราจะเห็นว่า ไม่ว่าประเทศพัฒนาแล้ว หรือกำลังพัฒนา ก็จะมีปัญหาคนไร้บ้านเหมือนกัน แต่การดูแลช่วยเหลือนั้นต่างกันก้าวไกลมีนโยบายที่จะช่วยเหลือ ดูแล หรือลดปริมาณคนไร้บ้านบ้างไหม
Human Rights
นิรโทษกรรม

การนิรโทษกรรมผู้ต้องหาคดี ม.112/116 ที่อยู่ต่างประเทศ ที่เกิดจากความไม่ชอบธรรมของกฎหมาย ก้าวไกลมีการเล็งเห็นประเด็นนี้บ้างไหม และ มีแนวทางการแก้ไขปัญหาเรื่องนี้อย่างไร
สภาในยุโรป

อยากถามก้าวไกลว่ามายุโรปบ่อยๆอ่ะ นัดคุยกับคนในสภาของแต่ละประเทศเพื่อผลักดันให้รัฐบาลเผด็จการในไทยและประเทศเพื่อนบ้านแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและปัญหาสิทธิมนุษยชนบ้างไหม
Education
นักเรียนไทยในต่างประเทศ
จนถึงตอนนี้ยังไม่เห็นพรรคไหนพูดสิ่งนี้เลยเช่นปัญหาทุนวิจัยที่ต่ำต้อย ปัญหาสมองไหล ปัญหานักเรียน ป เอก ที่ได้ทุนไทยมา ต้องใช้หนี้ถึง 3 เท่า ถ้าไม่กลับไทย
Inclusion และทั่วถึง
ในยุโรป การศึกษามาหลายทางเลือกมาก (ไม่ใช้แค่เพียงวิธีการสอน)เช่น Dual Study และ Apprenticeship
ทำอย่างไรให้เยาวชนได้มีการศึกษาที่รองรับตามความเหมาะสม ไม่ใช่มีแค่ ประถม มัธยม ปวช ปวส
เพื่อไทยพูดอยู่ เรื่อง passport power
ทำยังไงให้คนไทยเดินทางในยุโรปได้ง่ายๆ จะได้เดินทาง เรียน ทำงานได้สะดวก เปิดหูเปิดตา เปิดโอกาส 
เรียนรู้ตลอดชีพ
มีแนวทางการสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีพอย่างไร เพราะการศึกษาหรือสายงานที่เรียนมาอาจใหม่เหมาะสมกับงานที่ทำในปัจจุบัน หรืออาจต้องเปลี่ยนสายงานใหม่
ความพร้อม

ทำอย่างไรให้เด็กไทยมีความพร้อมที่จะใช้ชีวิตและทำงานในศตวรรษที่มีความ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และต้องปรับตัวให้กับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ไม่หยุดนิ่งและไม่สามารถคาดเดาได้ เช่น misinformation, disinformation, ChatGPT
โอกาสให้คนไทย

มีแผนที่จะเปิดโอกาสให้คนไทยในต่างประเทศใช้ความรู้ความสามารถในด้านต่างๆ ของตนมาช่วยในการพัฒนาและแก้ปัญหาของประเทศหรือไม่อย่างไร
บริหารสถานศึกษา
ทำอย่างไรสถานศึกษาจึงจะบริหารเองโดยคนในชุมชนและผู้ปกครอง ผ่านการเลือกตั้งอย่างเป็นอิสระได้ โดยมีงบประมาณเพียงพอจากท้องถิ่นและสมทบจากส่วนกลาง
ความเท่าเทียม
ทำอย่างไรสถานดูแลเด็กก่อนประถมวัยจึงจะมีคุณภาพเท่าเทียมกันทั่วประเทศ
Art & Creative Economy
Food space

for such a small country Thailand has had such a big impact in the world in terms of bringing Thai cuisine to the wider west. As a native of Thailand who has spent time living and experiencing cities like Berlin, London and Paris even smaller places like Kassel. I’ve come to the understanding after meeting many Thai communities in these places that there aren’t many spaces that offer integration into society. 
Since moving to the UK from a young age and meeting other Thais who have moved alone, I have found that most of these immigrants among many others who gravitate towards Thai restaurants and Thai temples for either work or as a meeting place, however I believe they are in search of something much deeper which is a sense of belonging and a home away from home. Which begs the question: how can we further improve or perhaps encourage integration for Thai immigrants moving to the EU, also how can we reimagine and cultivate existing infrastructures like Thai temples, community space and eateries like restaurants.
Creative Economy

I would like to suggest the party/officers to reframing the scope of Thailand’s ‘Creative Economy’ from its focus on entrepreneurs and corporate-making to covering the area of art education and cultural value. The recent ‘CE’ model resulting the gentrification in the cities by malls and small companies, causing art and design to be justified by its partial value of ‘value making’ and ‘decoration’ taking away the importance of cultural and artistic discourse. This situation of having-no-alternative career paths besides serving companies and business purposes is flattening the dimensions of art study and its value before the eyes of the audience. Nevertheless, according to the situation where I’m based in the Netherlands, which is a neo-liberalism economy, I see the same problems occur, the differences lie in the potential of NL art education and money-pool in support for the cultural makers from states which is a big enough and allowed the space for an occurrence of the alternative discourse.
การลงทุนกับศิลปิน
การอยู่ในยุโรปทำให้เห็นว่ารัฐบาลที่นี่มีการส่งเสริมและลงทุนกับศิลปินรุ่นใหม่ๆอย่างเป็นระบบ อยากทราบว่าก้าวไกลมีนโยบายอย่างไรในการรักษา ดูแล และส่งเสริม talent ในวงการศิลปะที่ไทย ให้สามารถพัฒนาตัวเองและสร้างผลงานออกมาได้หลังจากเรียนจบ อย่างน้อย 3-5 ปีแรก
Computer Litteracy and Tech Startups

ประเทศในแถบแสกนดิเนเวียน โดยเฉพาะสวีเดน มีการวางแผนเรื่อง computer litteracy มาเป็นเวลายาวนาน เช่น ในยุคปลาย 90s รัฐบาลมีนโยบายให้ทุกบ้านมี Personal computer หรือการมี Internet ความเร็วสูงก่อนประเทศใดๆ ผลพวงคือ สวีเดนมีผลิต Tech Startups ระดับโลกมากมายเช่น Spotify, Minecraft หรือ Klarna ผู้ก่อตั้งบริษัทเหล่านี้ล้วนเป็นผลมาจากนโยบายระดับประเทศที่ส่งเสริมลงทุนด้าน Digital ทั้งสิ้น ทางพรรคก้าวไกลมีนโยบายอย่างไรเรื่องการยกระดับความรู้และการลงทุนด้าน Digital บ้าง
Mentorship

ประเทศในแถบสแกนมีเงินลงทุนให้ Tech start-ups พอสมควรเช่นการเปิด Incubator house ตามเมืองใหญ่ๆ start-ups ได้ใช้ Facility ฟรีและได้รับการ Mentorship จาก Start-ups ที่ประสบความสำเร็จ ทางก้าวไกลมีแนวคิดนี้อย่างไร
Tech starups ทั่วโลก

เมืองไทยมีศักยภาพที่จะให้ Tech starups ทั่วโลกไปตั้งบริษัท เนื่องจากมีอากาศดีและค่าครองชีพยังไม่สูง แต่ Digital nomad ส่วนใหญ่ที่ไปไม่ได้มีโอกาสที่จะแชร์ความรู้ กับคนไทยเลยซึ่งเป็นเรือ่งที่น่าเสียดายมาก เทียบกับประเทศอย่างชิลี ที่เกิดสตาร์ทอัพ และเกิดการ Share knowledge จาก Digital nomad. ทางพรรคมีแนวคิดอย่างไรกับเรื่องนี้
Art as Assest

ทางพรรคมี vision ในการส่งเสริมและรักษสงานศิลปะร่วมสมัยอย่างไร ในแง่ที่ศิลปะร่วมสมัยจะกลายมาเป็น assets ที่สร้างมูลค่าในเชิงเศรษฐกิจและวัฒนธรรมได้ หากดูยุโรป หรือเกาหลี สิงคโปร์ เป็นตัวอย่าง ก็จะเห็นว่างานศิลปะของคนในชาติก็ถูกปลุกปั้นจนกลายเป็นจุดขาย หรือจุดแข็งที่ทำให้เกิดการท่องเที่ยว หรือการซื้อขายที่มีมูลค่ามหาศาล
กระทรวงวัฒนธรรม

อยากทราบว่าทางพรรคมีความคิดเห็นอย่างไรกับโครงสร้างของกระทรวงวัฒนธรรมในปัจจุบัน ที่เป็นการรวมกันของหน่วยงานที่มีความขัดแย้งเชิง agenda เช่น กรมการศาสนา ที่บางครั้งก็มีการทักท้วงการแสดงออกของศิลปินร่วมสมัยที่ต้องการวิพากษ์สังคมและศาสนา (เพราะอาจจะไม่อยู่บนการแสดงออกที่ดีงาม) หรือการที่มี Film Censorship Board (FCB) เซ็นเซอร์ภาพยนตร์อยู่ในกระทรวงเดียวที่โปรโมทและพัฒนาสื่อ เป็นต้น
ในมุมที่สังเกตุเห็นว่าเป็นปัญหาอีกอย่างคือในเชิงบุคลากร เช่นในเวลาที่เจ้าหน้าที่กระทรวงระดับสูงมาจากทางฝั่งศาสนา และไม่ได้มีความเข้าใจหรือความรู้ทางศิลปะเท่าที่ควรจะเป็นแต่ก็ต้องมาปฎิบัติการนำพาศิลปะไทยไปในระดับนานาชาติแบบมีความเข้าใจที่จำกัดมากๆ ก็จะมีความงงหลงทางพอสมควร อยากทราบว่าทางพรรคเห็นอย่างไรกับเรื่องนี้
Soft power กับ อุดมการณ์

ยุโรปมี Soft power ด้านต่างๆอย่างเห็นได้ชัด แต่ก็ด้วยการมีรากฐานทางการเมืองที่เข้มแข็ง และการส่งเสริมศิลปะ-วัฒนธรรมมายาวนาน
มีความคิดอย่างไรเกี่ยวกับ soft power และทางก้าวไกลมีอุดมการณ์อะไรบ้างที่จะใช้ผลประโยชน์จากมัน
การนิยามและการปฎิบัติ
พูดในฐานะคนทำวิเคระาห์ path dependence นโนยายศก.สร้างสรรค์ในไทย ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา
เท่าๆที่ดูๆการให้คำนิยามของ  Creative Economy คือ การนำสินค้าหรือบริการมาเพิ่มมูลค่า โดยผ่านการคิดอย่างสร้างสรรค์ พูดง่ายๆคือ ทำให้มันดูเก๋ ถูกจริตตลาดที่มีกำลังการซื้อ แต่จริงๆแล้วเป็นอย่างนั้นจริงหรอ ส่วนตัวคิดว่า รัฐควรมอง Creative Economy เป็นกระบวนการส่งเสริม Intellectual propert ที่เป็นกำลังสำคัญในcreative economy ซื้อได้มาจากกระบวนทางความคิด ประสบการณ์ ทักษะ หรือมรดกทางวัฒนธรรม
เครือข่ายของคนที่เรียกว่าทำเศรษฐกิจสร้างสรรค์เลยดูเฉพาะกลุ่ม สำหรับคนที่ความเป็น artistic รวมถึงกระบวนการ ที่เข้าถึงยาก ผู้ประกอบการหลายรายมองภาพไม่ออกว่าต้องเข้าไปในช่องทางใด และได้ประโยชน์อะไรจากการเข้าร่วมกลุ่ม ที่สำคัญผลลัพธ์หลายๆครั้งยังเห็นเป็นการกระตุ้นกิจกรรม ad-hoc base อย่างงานเทศกาลศิลปะ ซึ่งดี แต่ว่าประเทศไทยพยายามพูดถึงประเด็นนี้มากว่า 20 ปีแล้ว
เรายังไม่ค่อยเห็นมาตรการ หรือนโยบายที่เป็นรูปธรรม ที่เข้าถึงผู้ประกอบการอย่างเท่าเทียม
Science & Technology
ปัญหาเชื้อโรคดื้อยา 
ภายในปี 2050 ถ้าปัญหาเชื้อดื้อยายังเป็น เช่นนี้อยู่ คนจะตายจากเชื้อโรคดื้อยา 10 ล้านคนต่อปีทั่วโลก ย้ำนะคะ ต่อปี ถ้าเราสามารถที่จะ ตระหนกและตื่นตูมสุดฤทธิ์กับโควิดได้ ซึ่งมีคนตายเกือบ 6.9 ล้านคนทั่วโลกภายในสามปี เราก็ควร ตระหนักกับปัญหาเชื้อดื้อยาได้ใช่มั้ยคะ? แล้วจะแก้ปัญหานี้ในประเทศไทยอย่างไร
Laws
การลงคะแนนเสียงในต่างประเทศ

ใช้วิธีการส่งทางไปรษณีย์
ก้าวไกลมีวิธีช่วยประชาชนจับตามองในส่วนนี้ไหมมันรัดกุมแค่ไหนในการส่งกลับ ทาง ปณมันจะถูกเปลี่ยนได้ไหม หรือ มันจะรู้ไหมว่า เราลงอะไรตอนมาถึงเปิดซอง คนที่จ้างมาไว้ใจได้แค่ไหน มีคนนอกมาสังเกตการทำงานไหม เชิญใครมา คัดเลือกอย่างไร ตอนบรรจุถุงเมลรู้ได้ไงว่าไม่ถูกสลับ/มีการแอบเปลี่ยนซองซองบัตรมาถึง เอาใส่ลงหีบที่สถานทูต แต่กว่าจะเปิดหีบ อยู่ในสถานทูตกี่คืน แล้วจะทำอย่างไรให้โปร่งใส่
ผลประโยชน์จากช่องโหว่ทางกฎหมาย

ช่องโหว่ของกฎหมายและระเบียบราชการที่ยุ่งยาก เปิดทางให้คนในเครื่องแบบหาเงินกับคนไทยในต่างแดน
เวลาหางานต่างประเทศต้องใช้ใบยืนยันว่าไม่มีความผิดอาชญากรรมตามสัญชาติ คนไทยในต่างแดนไม่ได้กลับบ้าน คนที่บ้านก็ทำให้ไม่ได้เพราะไม่ค่อยรู้เรื่อง แทนที่ตำรวจจะทำให้ง่ายแต่ก็ไม่ทำ แต่กลับทำให้คนในเครื่องแบบบางส่วนใช้เป็นช่องทางหาเงิน
เช่นมีการเปิดเพจรับงานกันแบบนี้เลย คนทำคือคนในเครื่องแบบ รับจ๊อบผ่านFacebook/Line ไปหาเอกสารมาจากต้นสังกัดส่งมาได้เลย แต่จ่ายใต้โต๊ะ3-4พัน นอกเหนือจากค่าทำเอกสารที่เค้าคิดแบบถูกกฎหมาย คนไทยในต่างแดนจึงเหมือนเป็นเหยื่อของการคอรัปชั่นเชิงโครงสร้าง
หรือเรื่องเกณฑ์ทหาร คนไทยต่างประเทศจ่ายใต้โต๊ะกันเพียบเพื่อไม่ต้องกลับไปเกณฑ์ทหาร เพราะรายได้ที่นี้ก็เพียงพอกับการที่จะจ่ายเงินใต้โต๊ะ มีมุมมองจัดการอย่างไร
ผลพวงของอำนาจนิยม

คนไทยในต่างประเทศเฝ้ามองการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองจากนอกประเทศ และอยากเห็นการเปลี่ยนแปลงและแก้ไข้ที่เป็นจริง
ก้าวไกลนั้นมีนโยบายเกี่ยวกับกฎหมายหลายๆฉบับที่เป็นผลพวงของอำนาจนิยมยังไง จะไล่รื้อแก้ไปทีละฉบับไหม ยกตัวอย่างเช่น พรบ. NGO ตัวล่าสุดที่ออกโดยรัฐบาลที่กำลังจะหมดวาระครับ
112 เชิงรูปธรรม

ในกรณีที่สามารถผลักดันแก้ไข  112 ได้สำเร็จ อยากให้ยกตัวอย่างเป็นรูปธรรม ของบุคคลอาทิเช่น อ.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ว่าจะต้องผ่านกระบวนการอะไรบ้าง ในเชิง กม. และ เวลาที่จะใช้คร่าวๆในการดำเนินการณ์ สำหรับการสู่เมืองไทย
โครงสร้างภาษี

ประเทศไนยุโรปนั้นเป็นรัฐสวัสดิการ และเป็นที่ทราบกันว่าจัดเก็บภาษีในอัตราสูง เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาประเทศและดูแลประชาชน แต่คนไทยหลายคนมักพูดว่า จ่ายภาษีแพงก็ให้นักการเมืองไปผลาญ
พรรคมีนโยบายจะมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการจัดเก็บภาษีไหม
Public service
วิกฤติศรัทธาของสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ไทยในต่างประเทศ

มีการวัดผลสัมฤทธิ์การทำงานที่เป็นรูปธรรมหรือไม่ อย่างไร โดยเฉพาะการเชื่อมไทยสู่โลก การเชื่อมโลกสู่ไทย เห็นแต่ทูต /นักการทูตไปวัด ไปรับเสด็จ ต้อนรับคณะจากไทย ไปพบระดับสูงของประเทศเจ้าบ้าน แต่ไม่รู้ต่อยอดอะไร ประเทศได้อะไร อำนวยความสะดวกอะไรประชาชนบ้างในการเข้าถึงตลาดแรงงาน การศึกษา ทุน เศรษฐกิจ
การจัดซื้อจัดจ้างในพื้นที่

สถานทูตใช้งบประมาณในการจัดทำโครงการ และจัดจ้างในต่างประเทศให้ทำกิจกรรมและให้ข้อมูล (โดยไม่มีการตรวจสอบจากภายนอก)
แต่ในทางกลับกันทางองค์กรไทยที่ไม่แสวงหากำไรนำเสนอข้อมูลให้พัฒนากระบวนการทำงานเพื่อประโยชน์ของคนไทยในต่างประเทศ  และเชิญให้มาร่วมให้ข้อมูลกลับ แต่ได้รับการปฎิเสธและไม่ได้รับการสนับสนุน
สถานที่ราชการในต่างประเทศมองการวิพากษ์วิจารณ์เป็นศัตรู และเอาภาษีประชาชนไปกับการหาซื้อ Feedback ดีๆกลับมา
เราจะจัดการมุมมองการตัดตอนการพัฒนาของราชการ และใช้ภาษีประชาชนที่มีต้นทุนสูงมากในต่างประเทศได้อย่างไร
Economy
การรับรองและนิติกรณ์เอกสารข้ามชาติ

คนไทยและต่างชาติต้องจ่ายเงินเยอะมากและเสียเวลาไร้สาระ (ผ่านด่านมากมายทั้งไปติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเทศนั้น ๆ กว่าจะติดต่อกับสถานทูต และเดินทางฝ่ารถติดไปต่อคิวที่กรมการกงสุลแจ้งวัฒนะ เพราะประเทศไทยยังใช้ระบบการรับรองแบบห่วงโซ่) ทั้งๆ ที่ กระทรวงการต่างประเทศสามารถช่วยเหลือพี่น้องประชาชนได้ง่าย ๆ ด้วยการเข้าเป็นภาคีอุสัญญา Apostille ที่ชาติยุโรปเรียกร้องมานานกว่าสิบปี
ซึ่งมันจะลดขั้นตอนและค่าใช้จ่ายไปได้มาก กล่าวคือ แค่รับรองชั้นเดียวจากประเทศภาคีที่ออกเอกสาร ก็เอาไปใช้กับประเทศภาคีได้เลย
ซึ่งอันนี้เป็นอุปสรรคสำคัญทั้งกับการติดต่อราชการทั่วไป (แค่โอนที่ดินบางที่ก็เสียกันเป็นหมื่นๆ) กับที่เกี่ยวกับการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ (เป็นแสนๆ) ซึ่งถ้าปลดล็อกตรงนี้ได้ จะเป็นประโยชน์มหาศาล ซึ่ง กระทรวงการต่างประเทศควรทำนานแล้ว โดยเฉพาะปัจจุบันที่มีเทคโนโลยีมาช่วย จริงๆ ควรโดนฟ้องนะ เพราะสร้างขั้นตอนให้ประชาชนโดยไม่จำเป็น ปากก็บอกจะส่งเสริมการลงทุน แต่เรื่องการรับรองเอกสารระหว่างประเทศนี่ตัวอุปสรรคเลย
คำถามนี้หมัดหนัก และถ้าก้าวไกล ทำให้เข้าใจง่ายให้คนเห็นภาพก็เอามาเป็นนโยบายได้สำหรับเรื่องที่ข้ามชาติได้เลย
สังคมผู้สูงอายุ

สังคมไทยก้าวสู้สังคมผู้สูงอายุไวกว่าประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศ ขณะที่หลายพรรคก็ชูนโยบายด้านสวัสดิการผู้สูงอายุกันมากขึ้น แต่ปัญหาใหญ่คือ ผู้สูงอายุจำนวนมากไม่ได้มีแผนเกษียณที่เพียงพอต่อการใช้ชีวิตโดยไม่ต้องพึ่งลูกหลาน และเงินสนับสนุนจากภาครัฐต่อเดือนไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต ทางพรรค หากได้เป็นรัฐบาลจะมีมาตรการอย่างไรในการดูแลสวัสดิการผู้สูงอายุในระยะยาว และงบประมาณจะมาจากทางใด
ค่าครองชีพ

ค่าครองชีพของไทยสูงขึ้นอย่างมากในขณะนี้ ขณะที่เงินเดือนทั้งขั้นต่ำและเงินเดือนของแต่ละอาชีพไม่ได้ปรับขึ้นต่อเนื่องตามอัตราเงินเฟ้อและสภาวะเศรษฐกิจมานาน ทางพรรคจะมีมาตรการอะไรในการยกระดับค่าครองชีพพร้อมกับเสริมประสิทธิภาพแรงงานเพื่อให้อุตสาหกรรมไทยสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก
สวัสดิการถ้วนหน้า

นโยบายที่เกี่ยวกับสวัสดิการถ้วนหน้าตั้งแต่แรกเกิด, การศึกษา, แรงงาน, สุขภาพ และผู้สูงอายุนั้นใช้งบประมาณสูง ขณะที่การจัดเก็บภาษีที่ต่ำและระดับภาระหนี้ภาคสาธารณะที่เพิ่มสูงขึ้นในปัจจุบัน คำถามคือ งบประมาณสำหรับนโยบายด้านสวัสดิการดังกล่าวจะมาจากแหล่งใดบ้าง
กับดักประเทศกำลังพัฒนา

ประเทศไทยติดกับดักประเทศกำลังพัฒนามาหลายปี และยุทธศาสตร์ 20 ปีก็ผูกมัดรัฐบาลอีกหลายปี หากพรรคได้เป็นรัฐบาล จะมีแนวทางนโยบายอะไรในการผลักดันให้ไทยก้าวเข้าสู่ประเทศพัฒนา (นอกเหนือจากโครงการลงทุนด้านโครงสร้างสาธารณะขนาดใหญ่)
Business / Industry
เสริมการลงทุนต่างประเทศ

ประเทศในเอเชียส่งเสริมการลงทุนในยุโรปแบบ inside out
อย่างเช่น การสนับสนุนเงินกู้ดอกเบี่ยต่ำพิเศษหรือมีเงื่อนไขพิเศษในการให้เงิน เพื่อให้คนแต่ละชาติเปิดร้านอาหาร ร้านขายของของชาตินั้นๆ เพื่อนำสินค้าของประเทศนั้นมาออกขายในยุโรป
ขณะนี้เห็นมีเพียงการทำโฆษณาบนสื่อ (ที่ไม่ได้ค่อยมี Impact) และการฝึกอบรบตัดผม ทำกับข้าว เอารำไทยมาแสดง ซึ่งเป็นการสร้างระบบแบบชั่วครั้งคราวและผลลัพธ์ในพื้นที่ขนาดเล็กเท่านั้น
ประเทศไทยจะมีการส่งเสริมการลงทุนนอกประเทศเพียงไหน ที่จะสร้างและขยายสายส่งในการจำหน่ายและสนับสนุนสิ้นค้าจากไทยได้ไหม
ธุรกิจภาคยุโปรจากคนไทย

ผลักดันธุรกิจภาคยุโปรจากคนไทย ทางก้าวไกล มีแผนที่จะพัฒนาธุรกิจเชิงรุกในต่างประเทศไหม โดยผลักดันส่งเสริม กลุ่มคนไทยที่มีความสามารถให้ทำธุรกิจในแต่ประเทศนั้นๆได้โดย มีฐานสินค้าหรือแรงงานด้านความสามารถทางเทคโนโลยี หรือ อุตสาหกรรม จากไทย
ยกตัวอย่าง SHEIN ด้านแฟชั่นเสื้อผ้าของจีนหรือ VinFast ของเวียดนามด้านอุตสาหกรรม ยานยนต์
Coalition
ถ้าไม่เป็นรัฐบาล

นโยบายเยอะมากๆ ถ้าไม่ได้เป็น ร้าบาน จะทำอะไรได้บ้าง?
รัฐบาลผสม

ถ้าเป็นร้าบานผสม ไม่ใช่เสีบงข้างมากในส่วนผสม จะทำอะไรก่อน หลัง อะไรคือนโยบายที่จะต้องทำและไม่มีการต่อรองกับพรรคร่วมฯ อื่นๆ นโยบายอะไรที่จะยืดหยุ่นได้
เสียงข้างมาก

ถ้าเป็นเสียงข้างมากในการจัดตั้งร้าบาน จะทำอะไรก่อนใน๑๐๐วันแรก ในปีแรก และปีที่สอง
ดูเหมือนว่าพรรคกำลังถูก”รุม” จากพรรคอื่นๆเพราะโพลออกมาดูดี จะมีทางออกอย่างไร มีการคาดการกรณีต่างๆ scenario ไว้หรือไม่ และจะมีแนวทางการปรับตัวอย่างไร เช่นการใช้ game theory มาช่วย

ผู้รวบรวมและประมวลคำถาม

  • ภัทร์ศรัณย์​ ธนิ​สร​ธนา​สิทธิ์​ (DE) ด้าน Social Work and Education
  • ดร. หทัยชนก อุ่นผล (DK) ด้าน IT
  • ดร. พิมพ์ลภัส ลี้กิจเจริญผล (DK) ด้าน Science & Technology
  • ดร. ดารณี เลหโตเน็น (FI) ด้าน Education
  • Emmie (DE) ด้าน Human Rights
  • ดร. วิโรจน์ เจียรวัชระมงคล (SE/DK) ด้าน Economy
  • อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล (IE)  ด้าน IT/Communication
  • วงค์วรัณ ปัญญาวงค์ (UK) ด้าน Art & Cuisine
  • Theetat Thunkijjanukij (NL) ด้าน Creative Economy
  • นวลขนิษฐ์ พรหมจรรยา (NL) ด้าน Art
  • สิรวิชญ์ ทีวะกุล (FR) ด้าน Law
  • ชวลิต ตั้งวงษ์พิบูลย์ (FR) ด้าน Business / แอดมินเพจนักเรียนไทยในปารีส
  • ดร.ปรีดี หงษ์สต้น (SE) ด้าน Politics / History
  • Kasemsun Rawvilai (SE) ด้าน Public Policy
  • ดร. กุลชา ศิริขันธ์ (DE)  ด้าน Creative Economy / Urban planning
  • Nareerat Joy Leelawat (NO) ด้าน IT  / Urban planning
  • ดร. ณรรต ปิ่นน้อย (CN) ด้าน Education / Economics
  • ดร. วีรพล เพชรานนท์ (DE) ด้าน Industry

และขอขอบคุณผู้ร่วมงานอีกจำนวนมากที่ไม่ประสงค์ออกนาม (DE/FR)