อยากให้ประเทศไทยก้าวต่ออย่างไร > มุมมองคนไทยในยุโรป

เสวนาร่วม รัฐ-ผู้แทนราษฎร-ประชาชน | Joint discussion : State-Politics-People

สมาคมทะเลได้เรียนเชิญ กรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎร มาร่วมแลกเปลี่ยนและรับฟังความคิดเห็นของคนไทยในเยอรมนีและในยุโรปดังนี้

คุณกุลธิดา รุ่งเรืองเกียรติ – ครูจุ๊ย (Kunthida Rungruengkiat)

  • กรรมมาธิการวิสามัญร่างพระราชบัญญัติการศึกษา (Extraordinary Committee to the Draft National Education Act)
  • ที่ปรึกษาประธานกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร (Advisor to Chair of Education Committee)

คุณศิริกัญญา ตันสกุล – คุณไหม (Sirikanya Tansakun)

  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล (Member of the House of Representative, Move Forward Party)
  • ประธานคณะกรรมาธิการพัฒนาเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฎร (Chairperson of economic development standing committee)

ลงทะเบียนฟรี | Free registration for the event

ลงทะเบียนร่วมงานได้ที่ > https://thalay.eu/reg

Register to join > https://thalay.eu/reg

ลงทะเบียนที่นี่ Register here

กำหนดการ | Program

เสาร์ 15 ตุลาคม 2565 | Saturday 15 October 2022
15:00 – 17:00 CET

15.00 (5 Min)พิธีกรกล่าวต้อนรับและนำแนะงาน | Welcome and workshop introduction
ภัทร์ศรัณย์​ ธนิ​สร​ธนา​สิทธิ์​
15.05 (10 Min)แนะนำแขกรับเชิญและผู้เข้าร่วมเสวนา | Introduction of the participants
15.15 (90 Min)เสวนาร่วมในประเด็น | Disscussion on the issues:
• การศึกษาไทย และการลดความเหลื่อมล้ำ | Thai education and inequality reduction
• เศรษฐกิจและหนี้ครัวเรือนของไทย | Thailand’s economy and household debt
• นโยบายการพัฒนาประเทศในอนาคต | Development policy in the future
• ประเด็นจากผู้ร่วมงานเพิ่มเติม | Additional issues from the participants
16.45 (15 Min)พิธีกรสรุปประเด็นร่วมกับผู้ร่วมงาน | Summary and take-home issues
17:00ปิดรายการ | Closing

สถานที่ | Venue

Trialog Jugendhilfe gGmbH
Hannemannstr. 73
12347 Berlin
Germany

ลงรถ Bus ป้าย Wussowstr. (Berlin)
แล้วเดินอีก 3 นาที

https://goo.gl/maps/725XLPekcrzQHp3U7

บทสรุป

หลังจากสมาคมทะเลได้จัดเสวนาร่วมระหว่างรัฐ – ผู้แทนราษฎร – ประชาชน

เราอาจจะไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนสำหรับทางออกของปัญหา และดูเหมือนยังยืนอยู่ท่ามกลางความมืดมนในหนทางไปสู่ประชาธิปไตย

แต่การแลกเปลี่ยนมุมมองระหว่างกันก็นับว่าเป็นการปลูกสร้างความหวัง ส่งต่อแรงกระเพือมทางการเมืองต่อ

.

ข้อสรุปแบบรวบรัด

การศึกษาไทยและการลดความเหลื่อมล้ำ, เศรษฐกิจและหนี้ครัวเรือน และการพัฒนาประเทศในอนาคต

การศึกษา

• เงินที่รัฐไทยใช้ในการศึกษาเทียบกับ GDP ใกล้เคียงกับประเทศ Finland

🔶️ ปัญหาการศึกษาในช่วง Pre-Covid: ทวีความรุนแรงขึ้น

• การคำนวนเงินช่วยเหลือใช้สูตรรายหัวนักเรียน

• ️ปัญหาเรื่องการกระจายเงินยังคงมี: โรงเรียน สพฐ – 30,000 โรง, โรงเรียนเล็ก – 15,000 โรง

• โรงเรียนไม่สามารถบริหารจัดการเงินได้เอง

• ️เงินเฟ้อ: งบประมาณไม่สอดคล้องกับค่าครองชีพ

🔶 ปัญหาการศึกษาช่วง Post-Covid

•️ โรงเรียนขาดอิสระด้านการจัดการ

• Learning Lost เป็นอุปสรรคในการพัฒนา

•️ คุณภาพเนื้อหา/แบบเรียน เป็นสิ่งที่ควรต้องพิจารณาปรับปรุง

หนี้ครัวเรือน

• ปัจจัยหนึ่งคือหนี้บัตรเครดิต

•️ บอกกับภาวะเงินเฟ้อ 6.4%

• และยังมี️เนื้อสัตว์ (เนื้อหมู) แพงขึ้น

จัดที กรุงเบอร์ลิน เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2022 15:00 – 17:00 CET

🌷 ขอขอบคุณผู้บันทึกการประชุม Kodchawan Tarn Chaiyabutr

🌷 ขอขอบคุณผู้สรุปการประชุม Patsarun Thanisornthanasit

🌷 ขอขอบคุณผู้ร่วมงานและผู้มีส่วนร่วมในการจัดงานทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลังมา ณ ที่นี้