ศิลปินไทยกับเวทีโลก: ศิลปะไทยร่วมสมัย กับโอกาสบนเวที Art Basel

หลังจากนายกรัฐมนตรีไทยเดินทางไปฝรั่งเศสเพื่อหารือกับคณะกรรมการ (steering committee) ของ Art Basel งานแสดงศิลปะนานาชาติที่จัดขึ้นทุกปีในเมืองบาเซิล ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2024 นายกรัฐมนตรีได้เชิญชวน Art Basel ให้มาจัดที่ประเทศไทย เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและเปิดเวทีให้ศิลปินไทยได้แสดงฝีมือ เวทีนี้ถือเป็นเวทีจัดแสดงผลงานของศิลปินที่มีชื่อเสียง ดึงดูดผู้ชื่นชอบงานศิลปะระดับโลกครั้งละเกือบแสนคน

สมาคมทะเลจึงอยากได้ความเห็นจากศิลปินไทยที่ทำงานอยู่นอกประเทศบ้าง

เราขอความเห็นจากน้ำหวาน สมาชิกสมาคมทะเลผู้ทำงานอยู่ในอเมริกาเหนือและก่อตั้งกลุ่มศิลปะ “น้ำขี้น” (Namkheun Collective) ร่วมกับเพื่อนๆ ในประเทศไทย แต่เธอไม่เคยได้รับการสนับสนุนจากประเทศไทยเลย ได้รับทุนจากต่างประเทศทั้งหมด

อยากให้วงการศิลปะไทยพัฒนาต่ออย่างไร?

น้ำหวานคิดว่างบประมาณสนับสนุนศิลปะของไทยยังติดหล่มอยู่กับความเป็นไทยแบบดั้งเดิม ทำให้ศิลปะร่วมสมัย (contemporary art) ยังไม่พัฒนา (ไม่ใช่ว่าไม่มีใครทำ แต่ยังดันกันไปไม่ได้ทั้งปริมาณและคุณภาพ)

นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสินและแพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าพรรคเพื่อไทยหารือกับคณะกรรมการของ Art Basel
[Source : https://twitter.com/Thavisin/status/1766407096264704323]

ขยายความหน่อย

รัฐบาลมีงบสนับสนุน บอกว่าอยากส่งเสริมศิลปะไทยไปสู่โลก แต่มีแต่งานฝีมือแบบดั้งเดิม (อย่างสิ่งทอไทย) ซึ่งน้ำหวานก็เห็นด้วย แต่ในอีกด้านก็มีศิลปะร่วมสมัยที่อาจดูไม่ไทยจ๋า เลยไม่ได้รับการสนับสนุน ตั้งแต่ระดับการศึกษา ยันการผลิต

แนวคิดที่ว่าอะไรเป็นไทยไม่เป็นไทยฝังลึกตั้งแต่เรียนศิลปะที่มหาวิทยาลัย น้ำหวานว่าศิลปินที่มหาวิทยาลัยไทยผลิตออกมาก็เลยเน้นไปทางเทคนิคและคราฟท์ จนไม่มีการทดลองทางความคิด ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของศิลปะร่วมสมัย

รัฐบาลอยากส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย ต้องเริ่มจากตัวเองก่อน (พร้อมหัวเราะ) ต้องปรับภาพจำว่าศิลปะเป็นอะไรได้บ้าง ถ้าเราอยากนำคนอื่น ก็ต้องทำในสิ่งที่คนอื่นยังไม่เคยทำ หรือทำในสิ่งที่เราเองก็แปลกใจตัวเองเหมือนกัน แล้วก็ไปสู่การศึกษา มีหลายภาคส่วนที่ก็อยากทำเวิร์กชอป โปรเจกต์ต่างๆ ตอนนี้ก็ได้หาทุนมาจากต่างประเทศ ทั้งๆ ที่รัฐเองก็ควรมีส่วนในการสนับสนุนอย่างเต็มที่

สิ่งที่น้ำหวานทำตลอดมา ก็ไม่เคยได้รับการสนับสนุนเลย ได้ทุนจากต่างประเทศล้วนๆ ค่ะ

ART fair

“Art Basel” ช่วยศิลปินไหม

คำถามต่อมา สำหรับ Art Basel อาจจะไม่ใช่แค่ในส่วนของศิลปิน อาจจะต้องลามไปถึงภาคส่วนนักสะสม (collector) ซึ่งน่าสนใจว่าที่ไทยแทบไม่มีเลย มีไม่กี่คน และวนเวียนอยู่แค่กลุ่มเดิมๆ ทำให้สะสมอยู่แค่แนวเดิมๆ เป็นลูปว่าศิลปินหน้าใหม่ไม่ได้เกิดสักที รัฐบาลทำอะไรได้บ้างในการสนับสนุนให้เกิดความนิยมชมชอบในศิลปะรูปแบบที่หลากหลาย?

แนวทางแก้ไข

กลับไปที่การให้เงินหรือการสนับสนุนจากสถาบัน (institutional support) ในการดึงสิ่งอื่นจากต่างประเทศ (ไม่จำเป็นต้องเป็นคนตะวันตก เพื่อนบ้านด้วยกันก็ได้) มาเปิดโลกให้เรา

มันเป็นงานระยะยาว

ในระยะสั้น จริงๆ เปิด opencall อัดฉีดเงินได้เลย คนพร้อมจะทำงานมีเยอะมากๆ

Namwhan

NAMWHAN

NAMWHAN

NAMWHAN

คนต้นเรื่อง

ติดตามผลงานที่น่าสนใจของน้ำหวานกับ Namkheun Collective

  • สู้ไปกราบใคร: ยืนหยัดขัดขืนในยุคแห่งพิษภัย
  • ประท้วงไปยังไงก็ไม่ชนะ

ได้ที่ https://namkheun.com/


จาก Damien Hirst
ศิลปินร่วมสมัยที่ใช้ซากสัตว์จริง สะท้อนประเด็นความตาย ศาสนา ยาเสพติด เพศ และเป็นหนึ่งในศิลปินที่ร่ำรวยที่สุดในโลก ผลงานของเขาถูกนำเสนอใน Art Basel หลายครั้ง