คุยกับไอติม อินเบอร์ลิน | Take Thai home

รับฟังมุมมองของคนไทยในเยอรมัน และยุโรป

เสาร์ 9 July 2022 10:30 – 12:00 CET

• อยากเห็นอนาคตประเทศเป็นอย่างไร
• มีอะไรบ้าง ที่จะทำให้อยากกลับมาทำงานที่ประเทศไทย
• นโยบายอะไรในยุโรปที่น่านำมาประยุกต์ใช้ในไทย
• นโยบายอะไรที่สามารถช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยในต่างประเทศ
• การจัดสรรงบประมาณสำหรับการดูแลคนไทยในต่างประเทศ ควรเป็นอย่างไร

บทสรุปจากงาน | Summary from the event

ข้อสรุปจากโพสต์ของไอติม (tranlstaed to english by thalay): https://www.facebook.com/paritw/posts/pfbid07UpXdczgFyhrHpX19MUMQDppDGKpH9tsAi9JSTJpGBtFoGrmN39a8btoMgg9kyENl

🇹🇭 บทสรุปจากงาน

see next section below for english version

[ ภารกิจ #พาคนไทยกลับบ้าน เริ่มต้นที่การรับฟังมุมมองคนไทยในต่างแดน และ ทำความเข้าใจปรากฎการณ์ย้ายประเทศ ]

ระหว่างที่ผมร่วมโครงการของมูลนิธิทางการเมืองที่ประเทศเยอรมนีเมื่อช่วงต้นเดือนกรกฎาคม ผมได้มีโอกาสพบปะพูดคุยกับคนไทยหลายคนที่ใช้ชีวิตในกรุงเบอร์ลิน รวมถึงคนไทยจากส่วนอื่นของเยอรมนีและประเทศใกล้เคียงที่มาร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองผ่านช่องทางออนไลน์ ในกิจกรรมที่จัดขึ้นโดยสมาคมทะเล thalay.eu องค์กรไทยในยุโรป มองปัญหาเชิงโครงสร้าง

เหตุผลที่ทำให้แต่ละคนตัดสินใจย้ายถิ่นฐานออกจากประเทศไทยแตกต่างหลากหลายกันออกไป – บางคนเคยเป็นนักศึกษาที่ตัดสินใจอยู่ต่อหลังเรียนจบเพราะหางานที่ตรงสายได้ง่ายกว่าที่ไทย บางคนให้เหตุผลว่าย้ายออกจากไทยเพราะปัญหาเรื่องฝุ่นและมลพิษทางอากาศ อีกคนหนึ่งที่ย้ายมาที่เยอรมนีเพราะต้องการแต่งงานกับแฟนเพื่อเริ่มต้นชีวิตคู่ (โดยเขาได้แชร์ว่ารู้สึกตื่นเต้นถึงความคืบหน้าเรื่องกฎหมาย #สมรสเท่าเทียม ในไทยที่ผ่านวาระ 1 ของสภาผู้แทนราษฎร)

ในวงสนทนาวันนั้น ผมแทบไม่ได้พูดอะไรเลย แต่เพียงตั้ง 2 คำถามใหญ่ๆ และใช้เวลาทั้งหมดในการตั้งใจฟังคำตอบของทุกๆ คนเพื่อนำมาต่อยอดเป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศ ที่จะตอบโจทย์พวกเขา

คำถามที่ 1 = รัฐบาลไทย ทำอะไรได้บ้าง ที่จะทำให้คุณเปลี่ยนใจอยากกลับมาทำงานที่ไทย?

ในสภาวะสังคมสูงวัยที่สัดส่วนคนวัยทำงานในประเทศลดลงอย่างต่อเนื่อง เศรษฐกิจเราไม่อยู่ในจุดที่ควรจะสูญเสียคนทำงานจำนวนมากที่ตัดสินใจย้ายถิ่นฐานไปนอกประเทศ แต่อยู่ในจุดที่จำเป็นต้องดึงดูดคนวัยทำงานทั่วโลกให้มาทำงานในไทยมากขึ้นด้วยซ้ำไป

หากคนไทยเลือกย้ายไปทำงานต่างประเทศเพราะเหตุผลส่วนตัวหรือเพราะโอกาสที่พิเศษจริงๆ ผมจะไม่รู้สึกเสียดายและจะมองเป็นเรื่องน่ายินดี แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าคนไทยหลายคน ณ ปัจจุบัน เลือกย้ายไปใช้ชีวิตที่ต่างประเทศเพราะความรู้สึกหมดหวังกับประเทศไทย หรือเพราะไม่สามารถเข้าถึงโอกาสหรือสวัสดิการขั้นพื้นฐานที่ประเทศไทยควรจะมีให้กับพวกเขาได้

จากวงวันนั้น คำตอบที่แต่ละคนให้ถึงเหตุผลที่ทำให้เขาตัดสินใจใช้ชีวิตในต่างประเทศ แทนที่จะกลับไทย ล้วนเป็นโอกาสและสวัสดิการที่ไม่เกินเลยกว่าสิ่งที่รัฐไทย – หากมีการบริหารที่ดีและมีทิศทางนโยบายที่ชัดเจน – ควรจัดสรรให้กับประชาชนในประเทศได้ ไม่ว่าจะเป็น :

– ขนส่งสาธารณะ ที่ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ (ไม่ใช่แค่เมืองหลวงหรือหัวเมือง) ปลอดภัย ราคาเข้าถึงได้

– สุขภาพที่ดี จากอากาศที่สะอาด และ น้ำประปาที่ดื่มได้

– สิทธิลาคลอดที่ครอบคลุมทั้งแม่และพ่อ

– สวัสดิการที่คำนึงถึงคนพิการ เช่น บริการคนดูแล การอำนวยความสะดวกด้านการศึกษา การออกแบบระบบขนส่งสาธารณะ

– ระบบราชการและการทำงานในมหาวิทยาลัย ที่ปราศจากระบอบอุปถัมภ์และวัฒนธรรมที่เจ้ายศเจ้าอย่าง

– ระบบการศึกษา ที่ไม่ตัดสินอนาคตเด็กจากเพียงเกรด และให้ความสำคัญกับสายอาชีพเท่าสายสามัญ

– เสรีภาพเชิงวิชาการและการสนับสนุนทุนที่เพียงพอ ในการทำงานวิจัยที่หลากหลาย

– ความสะดวกสบายสำหรับนักศึกษา ในการปรึกษานักจิตวิทยาเกี่ยวกับปัญหาด้านสุขภาพจิต

– ความรวดเร็วในการช่วยเหลือค่าครองชีพประชาชนในยามวิกฤต (ตอนนั้น รัฐบาลเยอรมันประกาศลดค่าขนส่งสาธารณะเหลือ 9 ยูโร หรือ 330 บาท ต่อเดือน โดยใช้ได้ไม่จำกัด เป็นเวลา 3 เดือน เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาเรื่องค่าน้ำมันที่สูงขึ้น – รายละเอียด: https://www.theguardian.com/…/germany-public-transport… )

คำถามที่ 2 = รัฐบาลไทย ทำอะไรได้บ้าง ที่จะทำให้คุณภาพชีวิตคุณดีขึ้น แม้จะไม่ได้อาศัยอยู่ในไทย ?

แม้คนไทยหลายคนอาจจะตัดสินใจไม่กลับมาใช้ชีวิตในไทย แต่รัฐบาลไทยต้องไม่ลืมว่าพวกเขายังคงเป็นกำลังสำคัญในการร่วมพัฒนาประเทศและโลกใบนี้ และ เป็นกลุ่มคนที่รัฐบาลไทยจำเป็นต้องให้ความสนใจ

แม้คุณภาพชีวิตของพวกเขาอาจถูกกำหนดโดยนโยบายของประเทศที่เขาอาศัยอยู่เป็นหลัก แต่บางมิติของชีวิตเขา ยังขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการของรัฐบาลไทย ที่เขาได้สะท้อนมาว่ายังคงดีกว่านี้ได้ในหลายจุด เช่น

– การขยายสิทธิเลือกตั้งนอกอาณาจักรในระดับการเมืองท้องถิ่นให้กับคนไทยในต่างประเทศ

– การแก้ปัญหาจากการที่ภาครัฐจ่าหน้าซองจดหมายเกี่ยวกับสิทธิเลือกตั้งเป็นชื่อและที่อยู่เป็นภาษาไทยในบางกรณี จนทำให้ไปรษณีย์ส่งไม่ถึงที่หมายในต่างประเทศ

– การจัดกิจกรรมของสถานทูตให้ตอบโจทย์กลุ่มคนที่หลากหลายขึ้น รวมถึงเปิดให้คนไทยทั่วไปในต่างแดนมีส่วนร่วมมากขึ้น

– การช่วยเหลือคนไทยในเหตุการณ์วิกฤตอย่างรวดเร็วขึ้น (เช่น กรณีการบินกลับไทยช่วงโควิด)

– การปรับปรุงเงื่อนไขสำหรับนักเรียนทุนต่างๆ ของรัฐ (เช่น เงื่อนไขที่จำกัดไม่ให้ทำงานระหว่างเรียน – รายละเอียดเพิ่มเติม: https://decode.plus/20220605/ )

– การพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนไทยและสถานทูต (เช่น เคยมีกรณีที่เจ้าหน้าที่สถานทูตแห่งหนึ่งใช้ภาษาในเชิงข่มขู่นักเรียนเรื่องการตัดทุน หากไม่มาช่วยงานของสถานทูต)

“ประเทศไทย ไม่แพ้ชาติใดในโลก” เป็นประโยคที่ทุกคนได้ยินมาตลอดตั้งแต่เด็ก แต่ในวันที่อนาคตเศรษฐกิจเราต้องการพวกเขามากที่สุด ประเทศไทยกลับไม่สามารถรักษาคนไทยหลายคน ที่ตัดสินใจจำใจย้ายถิ่นฐานไปอยู่ประเทศอื่น เพื่อตามหาคุณภาพชีวิตที่เขาหาไม่ได้ที่ไทย

ความจริงแล้ว โอกาสและสวัสดิการ ที่พวกเขาตามหาที่ต่างประเทศนั้น ไม่ได้เป็นสิ่งที่เกินจินตนาการของมนุษย์ หรือ เกินกว่าสิ่งที่รัฐบาลไทยของเราจะทำให้พวกเขาได้ ด้วยทรัพยากรของประเทศและศักยภาพของคนที่เรามี

ภารกิจในการนำพาคนไทยกลับบ้าน จึงเป็นภารกิจที่สำคัญและเร่งด่วนอย่างยิ่งสำหรับรัฐบาลในทุกวันนี้ – การรับฟังและแก้ไขปัญหาให้กับพวกเขาในระหว่างที่เขายังเลือกอาศัยอยู่ต่างแดน อาจเป็นจุดเริ่มต้นเล็กๆ ที่จะปลุกความหวังให้พวกเขาตัดสินใจกลับมาร่วมกันสร้างประเทศไทยให้ดีขึ้น

🇬🇧 Summary from event

The mission #Take Thai people home starts with listening to the perspective of Thai people abroad and understanding the phenomenon of relocation

During my participation in a project of a political foundation in Germany in early July I had the opportunity to meet with many Thai people living in Berlin, including Thai people from other parts of Germany and neighboring countries who come to exchange views through online channels. In an event organized by Thalay Association @thalay.eu

The reasons why people decide to immigrate out of Thailand vary widely – some were former students who decided to stay after graduating because it was easier to find a direct job than in Thailand. Some people argue that they moved out of Thailand because of dust and air pollution problems. Another person moved to Germany because he wanted to marry his girlfriend to start a marriage. (He shared that he was excited about the progress on the law. #equal marriage in Thailand that has passed the 1st term of the House of Representatives)

In the conversation that day I didn’t say anything at all, just asking 2 big questions and spending all my time listening to everyone’s answers. people to be used as a guideline for the development of the country to answer them

Question 1 = What can the Thai government do? That will make you change your mind and want to come back to work in Thailand?

In an aging society where the proportion of people of working age in the country has continued to decline Our economy is not at a point where it should lose many of the workers who decide to migrate out of the country. But it is at the point where it is necessary to attract more working-age people around the world to work in Thailand.

If Thai people choose to move to work abroad because of personal reasons or because of a really special opportunity. I will not regret it and will look at it with joy. But it is undeniable that many Thai people nowadays choose to move to live abroad because they feel hopeless about Thailand. or because they do not have access to the basic opportunities or welfare that Thailand should have available to them.

From the group that day, each person’s answer to the reason that made him decide to live in a foreign country. instead of returning to Thailand All of them are opportunities and welfare that do not exceed what the Thai state – if there is a good administration and clear policy direction – should be allocated to the people of the country, such as:

– Public transportation that covers all areas across the country (Not just the capital or districts), safe, accessible prices.

– Good health from clean air and potable water

– Maternity leave that covers both mother and father

– Welfare that takes into account people with disabilities, such as caregiver services, educational facilitation public transport design

– bureaucracy and university work without the patronage regime and the titular culture

– An education system that doesn’t judge a child’s future by only grades and give importance to the career as the ordinary

– Academic freedom and adequate funding in a variety of research work

– Convenience for students To consult a psychologist about mental health issues

– Speed ​​to help people live in crisis (at that time, the German government announced to reduce public transport to 9 euros or 330 baht per month for unlimited use for 3 months to help alleviate the problem of rising gas prices – Details : https://www.theguardian.com/world/2022/may/20/germany-public-transport-boost-9-euro-month-ticket )

Question 2 What can the Thai government do? to improve your quality of life Even if you don’t live in Thailand?

Although many Thai people may decide not to return to live in Thailand. But the Thai government must not forget that they are still an important force in contributing to the development of the country and the world and are among the people the Thai government needs to pay attention to.

Even their quality of life may be primarily dictated by the policies of the country in which they live. But some dimensions of his life Still depends on the management of the Thai government. which he has reflected that it can still be better in many points, such as

– Expansion of voting rights outside the kingdom at the local political level for Thai people abroad

– Solving the problem of the government addressing the voter’s envelope with names and addresses in Thai in some cases until the post office did not arrive at the destination abroad

– Organizing embassy activities to meet the needs of a more diverse group of people including allowing more Thai people abroad to participate

– Helping Thai people in crisis situations more quickly (such as in the case of flying back to Thailand during the covids)

– Improving conditions for state scholarship students (e.g. conditions restricting work while studying – more details: https://decode.plus/20220605/ )

– Developing relationships between Thai students and the embassy (for example, there was a case where one embassy staff used language to intimidate students about cutting scholarships. if not helping with the embassy’s work)

“Thailand is not allergic to any nation in the world” is a phrase that everyone has heard since childhood. But in the future of the economy we need them the most. Thailand, however, is unable to treat many Thais. who decided to voluntarily migrate to another country to find the quality of life that he cannot find in Thailand

In fact, opportunities and welfare that they were looking for abroad It is not beyond human imagination or beyond what our Thai government can do for them. with the resources of the country and the potential of the people we have

Mission to bring Thai people home It is therefore an extremely important and urgent task for the government today – to listen and solve problems for them while they choose to live abroad. may be a small starting point to awaken hope for them to come back together to build a better Thailand

สถานที่

Humboldt-Universität zu Berlin (Humbolt University)
Room 1506
Dorotheenstraße 24, 10117 Berlin

ลงรถ S/U/Bahn ที่ป้าย Bahnhof Berlin Friedrichstraße
แล้วเดินอีก 6 นาที

https://goo.gl/maps/Fzq7v3dJCxVWCiiF6